หลักสูตรการบริหารสู่การเป็นผู้นำ
ด้านธุรกิจสีเขียวระดับโลก
(Management for being global Leader in Green business – MLG)
โครงการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างไทยและเยอรมัน*
เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของไทย ตามนโยบายเศรษฐกิจสีเขียว
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับผู้บริหารธุรกิจอาหารและเกษตร
(ประเทศเยอรมนีได้รับการจัดลำดับให้เป็นประเทศที่ดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เป็นลำดับ 1 ของโลกจาก Global Green Economy Index 2012)
ทำไมการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงส่งผลดีต่อผู้ประกอบการ?
-
-
-
- ช่วยประหยัดต้นทุนด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน
- ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ได้แก่ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีปริมาณจำกัดและราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- เพิ่มส่วนแบ่งตลาดจากสินค้าและบริการที่แตกต่างและสามารถแข่งขันได้กับธุรกิจแบบดั้งเดิม
- จัดการความเสี่ยงอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก เช่น การบังคับใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกา
-
-
นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ
-
-
-
- เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ส่งผลดีต่อสุขภาพของพนักงาน
- สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
-
ปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็น การผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเป็นวิธีหนึ่งที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางธุรกิจท่ามกลางสภาวะสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง
การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนคืออะไร
การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน คือ การดำเนินธุรกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน เศรษฐกิจของท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ และต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังนี้
-
-
- การนำแนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนมาประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจโดยจัดทำกลยุทธ์ทางธุรกิจเชิงรุกที่มีมาตรฐานสูงกว่ากฎและข้อบังคับซึ่งกำหนดโดยท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ
- การผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- การดำเนินธุรกิจตามเงื่อนไขและพันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมุ่งมั่นและต่อเนื่อ
-
วัตถุประสงค์
- เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเชิงการค้าและสร้างเครือข่ายทางสังคมสำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจอาหารและเกษตรของไทย
- เตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับพันธสัญญาระหว่างประเทศ
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้บริหารระดับสูงและเจ้าของกิจการกลุ่มธุรกิจอาหาร เกษตร และผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (Bio-based product)
- ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจอาหาร เกษตร และผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
- ผู้บริหารระดับกลาง อาทิ ผู้จัดการทั่วไป และผู้จัดการโรงงาน
โครงสร้างหลักสูตร
**ดำเนินการอบรมเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
กิจกรรมหลัก
การศึกษาดูงาน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
- เยี่ยมชมโรงงานผลิตเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- เยี่ยมชมโรงงานที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และความปลอดภัย ภายใต้ EU IPPC directive – Integrated Pollution, Prevention and Control
- เยี่ยมชมหน่วยงาน สถาบันและสมาคมด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
การศึกษาดูงานในประเทศไทย
- เยี่ยมชมหน่วยงานสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานที่ให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศไทย
- เยี่ยมชมหน่วยงานชั้นนำและโรงงานผลิตเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจะได้รับ
- สามารถวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจสำหรับการดำเนินกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- สามารถจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมถึงการจัดการ ปรับเปลี่ยนองค์กรจากธุรกิจแบบดั้งเดิมให้เป็นธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- สามารถสร้างหรือปรับปรุงภาพลักษณ์องค์กร ผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้เป็นรูปแบบใหม่
- สามารถสร้าง/เข้าถึง เครือข่ายธุรกิจและคู่ค้าในตลาดระดับสากล
- สามารถเข้าถึงแหล่งการให้บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อวิจัย ค้นคว้า และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
รศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ
ประธานคลัสเตอร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สวทช.
Matthias Bickel
Project Director “ASEAN Sustainable Agrifood Systems” GIZ
ระยะเวลาของหลักสูตร
- ฝึกอบรมและศึกษาดูงานในประเทศ
ระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม – 17 กรกฎาคม 2557
(ทุกวันพฤหัสบดีและวันที่สถาบันฯ กำหนด รวม 17 วัน)
เวลา 09.00 น. – 17.00 น. - ศึกษาดูงาน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ระหว่างวันที่ 1 – 8 มิถุนายน 2557
ค่าลงทะเบียน
Package | รายละเอียด | ค่าลงทะเบียน (บาท) |
A | Coursework ฝึกอบรมและศึกษาดูงานในประเทศ | 90,000 |
B | Coursework and Study trip ฝึกอบรม ศึกษาดูงานในประเทศและศึกษาดูงาน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี |
250,000 |
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
สถานที่จัดฝึกอบรม
โรงแรม พูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ
เลขที่ 8/2 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตร
จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS