หลักสูตรการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์
ด้านการบริการ
(Carbon Footprint of Services: CFS)
หลักการและเหตุผล
กิจกรรมของมนุษย์ที่มีการใช้ทรัพยากรและพลังงานผ่านการบริโภคสินค้าและบริการ ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases: GHGs) จากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่เข้าสู่สังคมเมือง และการพัฒนาอุตสาหกรรมของภาคการผลิตและภาคบริการที่มากขึ้น ด้วยความรับผิดชอบร่วมกันของผู้บริโภค ผู้ผลิต และผู้ให้บริการ ที่จะมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของตน เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก
การประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint: CF) เป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้ในการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยออกมาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การใช้งาน และการจัดการซากหรือของเสียหลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพื่อนำไปสู่การบริโภคที่มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และข้อมูลปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์จะเป็นข้อมูลที่แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่าตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าใด เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ และกระตุ้นให้ภาคการผลิตและบริการปรับเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ปัจจุบันผู้ประกอบการทั้งภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต่างให้ความสนใจต่อการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์สำหรับผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ผู้ประกอบการภาคบริการต่างมีความต้องการที่จะดำเนินงานด้านการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์เพิ่มสูงด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการขยายผลแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการไปสู่กลุ่มธุรกิจบริการมากขึ้น สถาบันวิทยาการ สวทช. จึงได้พัฒนาหลักสูตร “การประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการ (Carbon Footprint of Services: CFS)” ขึ้น เพื่อเร่งสร้างบุคลากรในกลุ่มธุรกิจบริการให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และสามารถประเมินประมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ นำไปสู่การกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านั้น และในส่งเสริมภาพลักษณ์ของธุรกิจด้วยการแสดงค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ของการบริการได้ และเพื่อแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยส่งเสริมความตระหนักรู้ให้กับผู้บริโภค และทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการรับบริการนั้นๆ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อสร้างบุคลากรในกลุ่มธุรกิจบริการให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการของ อบก. และสามารถประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการได้
- เพื่อให้นำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนากระบวนการการให้บริการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีการจัดการข้อมูลเพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดต้นทุนและสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ ตลอดจนสายโซ่การผลิตที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมภาคบริการไทยในระดับสากลและเป็นกลไกสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป
- เพื่อสร้างบุคลากรในกลุ่มธุรกิจบริการให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการของ อบก. และสามารถประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการได้
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม
- เข้าใจถึงประโยชน์และความสำคัญของการนำหลักการคาร์บอนฟุตพรินต์ไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การตลาด การพัฒนาสายโซ่การผลิตที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจใหม่ๆ
- เข้าใจหลักเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการของ อบก. และสามารถประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการได้
- นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เป็นแนวทางและเครื่องมือในการบริหารจัดการและการพัฒนากระบวนการให้บริการตลอดวัฏจักรชีวิตของการให้บริการให้มีการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม ธุรกิจออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์ เช่ารถยนต์ ห้องพัก เป็นต้น
- ผู้ประกอบอาชีพเป็นที่ปรึกษาในด้านวิศวกรรม
- อาจารย์ในสถาบันการศึกษา ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวข้องกับงานเชิงวิศวกรรมและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
- เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรม
- ผู้ชำนาญการในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอาจมีตำแหน่งหน้าที่บ่งบอกถึงความชำนาญในสาขาที่เหมาะสม
- บุคลากรในระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ หรือผู้จัดการสายโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการสร้างที่ ปรึกษาด้านการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ด้านการบริการสำหรับ พัฒนาองค์กรและสายโซ่การผลิตของตนเอง
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อถ่ายทอดความรู้และความเข้าใจในหลักการและมีทักษะที่เพียงพอต่อการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการบริการ ผ่านการฝึกปฏิบัติ และเพื่อนำไปสู่การแสดงเจตนารมณ์ในการรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท ในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์และบริการ ประกอบด้วย ดังนี้
-
- ความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพรินต์
- หลักการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์สำหรับการบริการ
- การกำหนดขอบเขตเพื่อการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพรินต์
- แนวทางการจัดเก็บข้อมูล และการสืบค้นข้อมูลค่าการปล่อย GHGs ตามแหล่งต่างๆ เพื่อการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์
- กระบวนการทวนสอบเพื่อขอการรับรอง และขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์
- ความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพรินต์
หมายเหตุ:
-
-
- สถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักสูตร วิทยากร และสถานที่ดูงาน ตามความเหมาะสมและความจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
-
วิทยากรประจำหลักสูตร
ผู้ทวนสอบในการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ประเภทบุคคล รับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 18 – 20 กันยายน 2556
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี และฝึกปฏิบัติการ
รวมจำนวนชั่วโมงทั้งหมด 21 ชั่วโมง
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 12,000 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน)
รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ:
-
- กรุณาชำระค่าลงทะเบียน ภายในวันที่ 16 กันยายน 2556
สถานที่จัดฝึกอบรม
โรงแรม พูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ
เลขที่ 8/2 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพสำหรับการจัดฝึกอบรมและการศึกษา ISO 10015
Download
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS