หลักสูตรการจัดการคาร์บอนสำหรับผู้บริหาร รุ่นที่ 4
(Carbon Management for Executives: CMX)
Key Highlights
-
- เข้าใจมาตรฐาน ข้อกำหนด และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก
- เรียนรู้การประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อการวางแผนการจัดการคาร์บอนอย่างมืออาชีพ
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงกับผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม
- สามารถนำความรู้ไปใช้เพื่อการบริหารองค์กรสู่การเป็นองค์กรสีเขียวที่ยั่งยืน
- เข้าใจมาตรฐาน ข้อกำหนด และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก
หลักการและเหตุผล
จากเป้าหมายหลักตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP21 ใน ค.ศ. 2015 ที่มุ่งเน้นการรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เทียบกับระดับในช่วงก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกให้น้อยลงไปอีกจนถึงต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้ประเด็นการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนจากนานาประเทศให้ความสำคัญ จวบจนปัจจุบันในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 ใน ค.ศ. 2020 ประเทศไทยเองได้ประกาศเป้าหมายสำคัญว่าจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero GHG Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่จะต้องหันมาให้ความใส่ใจกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อดำเนินการตามแนวทางของประเทศ
ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็นหลักการตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Science-based Target หรือ SBT) การตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร ที่เรียกว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) การตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP) การพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละเครื่องมือมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน และบางเครื่องมืออาจมีส่วนที่คล้ายคลึงกัน ทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาจจะยังไม่สามารถใช้เครื่องมือแบบบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาหลักสูตรการจัดการ คาร์บอนสำหรับผู้บริหาร (Carbon Management for Executives: CMX) ขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน ข้อกำหนด และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนให้กับองค์กรต่างๆ ได้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรและสอดรับกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ของประเทศ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ข้อกำหนด และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก
- เพื่อส่งเสริมการนำเครื่องมือไปประยุกต์ใช้ในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อส่งเสริมให้สามารถดำเนินการตามเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ของประเทศไทย
- เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ข้อกำหนด และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม
- มีมุมมองในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากเครื่องมือชนิดใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม
- ได้ตระหนักถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีต่อองค์กรและประเทศ
- ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม
- สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม
- วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรภาคเอกชน
- นักวิชาการ และบุคคลอื่นๆ ที่สนใจ
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในมาตรฐาน ข้อกำหนด และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก นำไปสู่การบูรณาการองค์ความรู้และประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยการบรรยาย และกรณีศึกษา ดังนี้
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วันทำการ) |
การบรรยาย กรณีศึกษา และการเสวนา | 7 | 1.0 |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- ที่มาและความสำคัญของการจัดการคาร์บอน
- มาตรฐานหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอน
- โครงการที่เกี่ยวกับการจัดการคาร์บอน
- เสวนา หัวข้อ “การประยุกต์ใช้มาตรฐานหรือข้อกำหนดในการจัดการคาร์บอน”
- ที่มาและความสำคัญของการจัดการคาร์บอน
-
หมายเหตุ:
-
- สวทช. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์รายละเอียดเนื้อหาและไฟล์เอกสารที่ปรากฎบนเว็บเซต์นี้ ห้ามมิให้ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข ลอกเลียนแบบ หรือใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สวทช.
- สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงกำหนดการอบรมและวิทยากรตามความเหมาะสมและความจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้าร่วมอบรม
- ผู้เข้าร่วมอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
วิทยากรประจำหลักสูตร
รศ.ดร.หาญพล พึ่งรัศมี
หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
(CEEE TU)
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.ไพรัช อุศุภรัตน์
รองหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
(CEEE TU)
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาของหลักสูตร
วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน 2567
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 6,420 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
หมายเหตุ
- กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 12 มิถุนายน 2567
- ผู้เข้าร่วมอบรมต้องส่งหลักฐานผลการตรวจ ATK ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม
- ค่าลงทะเบียนรวมอาหารกลางวันและอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างน้อย 7 วันทำการ ก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
สถานที่จัดฝึกอบรม
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81892 (คุณเมธภัค)
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81904 (คุณสุรีย์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS