Select Page

หลักสูตรการตั้งเป้าหมาย
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

 (Pathways to Net Zero GHG Emissions: NZE)

Key Highlights

    • เรียนรู้มาตรฐาน ข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามแนวทางการับรอง Net Zero ของ อบก.
    • เข้าใจหลักการ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” และ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission)”
    • สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ Science-based Target (SBT) ในการกำหนดแนวทางหรือเส้นทางเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ได้
    • เห็นแนวทางการบรรลุเป้าหมาย Net Zero พร้อมกรณีศึกษาองค์กรที่ประกาศเป้าหมาย Net Zero
    • ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

หลักการและเหตุผล

          จากเป้าหมายหลักตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP21 ใน ค.ศ. 2015 ที่มุ่งเน้นการรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เทียบกับระดับในช่วงก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดให้อุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้ประเด็นการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนจากนานาประเทศให้ความสำคัญ ต่อมาในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 หรือ COP26 ใน ค.ศ. 2020 ประเทศไทยได้ประกาศที่จะยกระดับการดำเนินการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่และทุกวิถีทาง เพื่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 จวบจนปัจจุบันในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 28 หรือ COP28 มุ่งประเด็นไปที่การหารือเกี่ยวกับมาตรการเพื่อรักษาไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม พร้อมทั้งเรียกร้องข้อตกลงให้ทุกประเทศลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมขยายโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน เทคโนโลยี วิชาการในการจัดการและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารประสบการณ์การทำงานร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานเตรียมการทำงานของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่จะต้องหันมาให้ความใส่ใจกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อดำเนินการตามแนวทางของประเทศ

 

          หลักการตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือกระจกบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Science-based Target หรือ SBT) เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทั่วโลกให้การยอมรับในการกำหนดแนวทางหรือเส้นทางเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ที่นำไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ซึ่งประเทศไทยเองก็มีการพัฒนาข้อกำหนดและแนวทางในการกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อให้หน่วยงานภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นๆ ใช้เป็นกรอบแนวทางในการให้การรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ให้เป็นไปตามหลักการสากลและสอดคล้องกับบริบทการดำเนินงานในแต่ละระดับของไทย

 

          สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนา “หลักสูตรการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Pathways to Net Zero GHG Emissions)” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน ข้อกำหนด และแนวทางการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และสามารถนำองค์ความรู้นี้ไปเตรียมความพร้อมในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เกิดประโยชน์กับองค์กรและสอดรับกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ของประเทศ

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
    2. เพื่อนำไปสู่การจัดการที่เหมาะสมในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และสร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถดำเนินการตามการเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ของประเทศไทย

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  1. ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจมาตรฐาน ข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ รวมถึงแนวทางการรับรอง Net Zero โดย อบก.
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำเครื่องมือ Science-based Target (SBT) ไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดแนวทางหรือเส้นทางเพื่อมุ่งสู่ Net Zero
  3. ผู้เข้าร่วมอบรมได้ตระหนักถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีต่อองค์กรและประเทศ และร่วมกันดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม
  2. วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรภาคเอกชน
  3. นักวิชาการ และบุคคลอื่น ๆ ที่สนใจ

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อความรู้และความเข้าใจในมาตรฐาน ข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นำไปสู่การบูรณาการองค์ความรู้และประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ประกอบด้วยการบรรยาย และกรณีศึกษา ดังนี้

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย และกรณีศึกษา 7 1
รวม 7 1 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

      1. สถานการณ์ก๊าซเรือนกระจก
      2. มาตรฐานหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions)
      3. ข้อกำหนดและแนวทางการรับรอง Net Zero โดย อบก.
      4. กรณีศึกษาองค์กรที่ประกาศเป้าหมาย Net Zero
      5. แนวทางการบรรลุเป้าหมาย Net Zero (การลดและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และการชดเชยก๊าซเรือนกระจกที่ยังลดไม่ได้)

หมายเหตุ: สวทช. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์รายละเอียดเนื้อหาและไฟล์เอกสารที่ปรากฏบนเว็บไซต์นี้ ห้ามมิให้ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข ลอก เลียนแบบ หรือใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือทำกระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สวทช.

วิทยากรประจำหลักสูตร

รศ.ดร.หาญพล พึ่งรัศมี
ผู้ทวนสอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
(Registered CFP Verifier)
ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.ดร.ไพรัช อุศุภรัตน์
ผู้ทวนสอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
(Registered CFP Verifier)
ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระยะเวลา 1 วัน
อบรมวันที่ 11 มิถุนายน 2567

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 6,420 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

หมายเหตุ

  • กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 4 มิถุนายน 2567
  • สวทช. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์รายละเอียดเนื้อหาและไฟล์เอกสารที่ปรากฏบนเว็บไซต์นี้ ห้ามมิให้ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข ลอก เลียนแบบ หรือใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือทำกระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สวทช.
  • ผู้เข้าร่วมต้องส่งหลักฐานผลการตรวจ ATK ไม่เกิน 48 ชั่วโมงก่อนเข้าร่วมอบรม
  • ค่าลงทะเบียนรวมอาหารกลางวันและอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์การของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ และไม่แสวงหากำไรจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
  • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
  • หากท่านต้องการยกเลิการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างน้อย 7 วันทำการ ก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเฃิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าวทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหกค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
  • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดฝึกอบรม

โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

เกณฑ์การประเมินผล

          ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81895 (คุณบรรยงก์)
เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1825 5143

โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400