Select Page

หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
มาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศขององค์กร

 (ISO/IEC 27001:2022 Standard for Organization)

 

มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติการจัดตั้งระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
และการจัดทำระบบสารสนเทศให้สอดคล้องตามมาตรการใหม่
ในมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022

Key Highlights

    • เรียนรู้และเข้าใจสาระสำคัญของมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022
    • เข้าใจมาตรการควบคุมความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
    • สามารถประยุกต์ใช้มาตรการควบคุมความเสี่ยง จากมาตรฐาน ISO/IEC 27002:2022
    • ฝึกปฏิบัติเข้มข้น 8 Workshop และแนะนำเครื่องมือพร้อมการติดตั้งเพื่อการใช้งาน​

หลักการและเหตุผล

          ปัจจุบันประเด็นด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นประเด็นที่หลายองค์กรให้ความสำคัญ เนื่องจากเทคโนโลยีและรูปแบบภัยคุกคามที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ. ว่าด้วยการประกอบธุรกรรมทางเล็กทรอนิกส์, พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหลาย ๆ ข้อบังคับมีเนื้อหาอ้างอิงมาจากมาตรฐาน ISO/IEC 27001 มาตรฐานนี้มุ่งให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยต่อสารสนเทศขององค์กร ที่หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและในระดับนานาชาติ ภาครัฐ และภาคเอกชน ล้วนให้การยอมรับอย่างแพร่หลาย และมีการนำมาประยุกต์ใช้งานเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดจนนำไปสู่การขอรับรองตามมาตรฐาน ซึ่งหน่วยงานผู้ตรวจรับรอง (Certification Body) ผู้ที่เกี่ยวข้องภายในทางเทคนิค (เจ้าหน้าที่เทคนิค) ได้แก่ ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลเครือข่าย ผู้พัฒนาระบบ Helpdesk ผู้ตรวจสอบภายใน และอื่น ๆ ควรที่จะได้ศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจในมาตรฐานดังกล่าว จนสามารถนำมาปรับใช้กับงานบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของตนได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมาตรฐาน ISO/IEC 27001 มีการปรับปรุงเป็นเวอร์ชั่น 2022 ซึ่งมีการปรับปรุงมาตรการควบคุมความเสี่ยงให้ครอบคลุมด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น และสอดคล้องกับ NIST Cybersecurity Framework โดยภาพรวมของการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO 27001:2022 มีสิ่งที่เป็นสาระสำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่เทคนิค ได้แก่

      1. การประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงตามขอบเขตของระบบที่ตนเองรับผิดชอบ
      2. การปฏิบัติตามนโยบาย/ขั้นตอนปฏิบัติที่เป็นหรือเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของตนเอง เช่น การเฝ้าระวังและติดตามการทำงานของระบบ การสำรองข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลล็อกบนระบบ และอื่น ๆ
      3. การจัดทำระบบให้มีความมั่นคงปลอดภัยตามโดเมนทางเทคนิค หรือก็คืองานทางเทคนิคในการจัดทำระบบให้มีความมั่นคงปลอดภัย
ปัญหาที่พบของเจ้าหน้าที่เทคนิคจากสาระสำคัญทั้ง 3 ข้อ ข้างต้น คือ
      1. การไม่ทราบว่าต้องประเมินความเสี่ยงอย่างไร และไม่แน่ใจว่าการประเมินความเสี่ยงมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ หรือเชื่อมโยงกับงานทางเทคนิคที่ตนปฏิบัติอยู่หรือไม่ อย่างไร
      2. การไม่แน่ใจว่านโยบาย/ขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนดไว้ มีความเกี่ยวข้องกับงานทางเทคนิคที่ตนต้องปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร
      3. งานทางเทคนิคที่ตนเองทำอยู่มีความสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 27001 หรือไม่ และในระดับใด
          หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียน (เจ้าหน้าที่เทคนิค) สามารถเชื่อมโยงเรื่องของการประเมินความเสี่ยงเข้ากับนโยบาย/ขั้นตอนปฏิบัติ ตลอดจนงานทางเทคนิคที่ตนต้องปฏิบัติ เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมต้องประเมินความเสี่ยง และต้องประเมินอย่างไร นโยบาย/ขั้นตอนปฏิบัติมีผลต่อการลดความเสี่ยงหรือไม่ อย่างไร และสามารถดำเนินงานทางเทคนิคเพื่อลดความเสี่ยงตามที่ประเมินและเพื่อให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ได้อย่างไร นอกจากนี้ยังมีการจัดเตรียม Workshop เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติจริง ซึ่งจะช่วยตอบปัญหาทั้ง 3 ประการข้างต้น โดยลำดับเนื้อหาของการฝึกอบรมมีดังต่อไปนี้
          • การวิเคราะห์บริบทขององค์กรที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และการกำหนดขอบเขต 
          • การประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศกับระบบในขอบเขต
          • การกำหนดวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและตัวชี้วัด
          • การประยุกต์มาตรการควบคุมความเสี่ยง จากมาตรฐาน ISO/IEC 27002:2022 เช่น
          • การวิเคราะห์ภัยคุกคามเชิงลึก (Threat intelligence)
          • การเขียน Code อย่างปลอดภัย (Secure coding)
          • การวิเคราะห์ช่องโหว่ทางเทคนิค (Management of technical vulnerabilities)
          • การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล log (Logging and security event)
          • การจำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม
ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022
    2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์บริบทและการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
    3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติการจัดทำมาตรการลดความเสี่ยงทางเทคนิค โดยมุ่งเน้นมาตรการใหม่จากมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  1. รู้และเข้าใจการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022
  2. สามารถวิเคราะห์บริบทและการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
  3. สามารจัดทำมาตรการลดความเสี่ยงทางเทคนิค โดยมุ่งเน้นมาตรการใหม่จากมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้จัดการไอซีที
  • เจ้าหน้าที่เทคนิค ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลเครือข่าย ผู้พัฒนาระบบ Helpdesk
  • เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (IT Security) หรือความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)
  • ผู้ตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ผู้ที่สนใจงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (IT Security) หรือความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)

โครงสร้างหลักสูตร

          หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศขององค์กรตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์และการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตลอดจนการจัดทำมาตรการลดความเสี่ยงทางเทคนิค โดยมุ่งเน้นมาตรการใหม่ตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 รวมจำนวน 18 ชั่วโมง / 3 วันทำการ

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย 6 1
ฝึกปฏิบัติการ (Workshop) 12 2
รวม 18 3 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

      • ภาพรวมมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022
      • รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 ไปยัง ISO/IEC 27001:2022
      • ข้อกำหนดการดำเนินงานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022
      • มาตรการควบคุมความเสี่ยงตามมาตรฐาน ISO/IEC 27002:2022
      • การวิเคราะห์บริบทขององค์กรที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
      • การประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
      • การกำหนดวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และแผนการบรรลุวัตถุประสงค์
      • การวิเคราะห์ภัยคุกคามเชิงลึก (Threat intelligence) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 27002:2022
      • การเขียน Code อย่างปลอดภัย (Secure coding) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 27002:2022
      • การบริหารจัดการช่องโหว่ทางเทคนิคของระบบสารสนเทศ (Management of technical vulnerabilities)
      • การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล log และเฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 27002:2022
      • การจำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม (Web filtering) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 27002:2022

วิทยากรประจำหลักสูตร

ดร. บรรจง หะรังษี

ดร. บรรจง หะรังษี

รองกรรมการผู้จัดการ และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ
บริษัท ที-เน็ต จำกัด
ISO/IEC 27001 (Certified of Lead auditor), ISO/IEC 20000 (Auditor Certificate) BCMS 25999,
Introduction to Capability Maturity Model Integration V1.2 Certificate

คุณพงศกร โสธนนท์

คุณพงศกร โสธนนท์

Senior Cybersecurity & Privacy Manager
บริษัท ที-เน็ต จำกัด

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระหว่างวันที่ 13 – 15 พฤศจิกายน 2567
เวลา 9.00 – 16.00 น.
(รวมระยะเวลาอบรม จำนวน 3 วัน)

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 24,500 บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

  • เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
    และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • โปรโมชั่นพิเศษ!!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกัน
    ตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป รับส่วนลดทันที 10%

หมายเหตุ

  • กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 30 ตุลาคม 2567
  • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
  • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรมและภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังและเข้าร่วมอบรมสัมมนาโดยไม่ถือเป็นวันลา
  • หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
  • ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการบรรยายตามความเหมาะสม
  • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดฝึกอบรม

โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

เกณฑ์การประเมินผล

          ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81891 (คุณนิพัฒน์)
โทรสาร : 0 2644 8110

E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400