หลักสูตร
วิศวกรการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคำนวณไฟไนต์เอลิเมนต์
การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน รุ่นที่ 2
(Vibration Analysis and Application : VAA)
หลักการและเหตุผล
หลักสูตรนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดหลักสูตร การใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม (Computer Aided Engineering Course : CAE) ภายใต้การพัฒนากลุ่มอาชีพด้านวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเข้าใจและสามารถการประยุกต์ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์กับปัญหาการสั่นสะเทือนประเภทต่าง ๆ ใน 1 มิติ 2 มิติ และ 3 มิติ รวมทั้งการอธิบายผลการคำนวณที่ได้ ทำให้ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาและออกแบบผลิตภัณฑ์
Key Highlights
- สามารถเข้าใจระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์กับปัญหาการสั่นสะเทือนประเภทต่าง ๆ
- สามารถประยุกต์ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์กับปัญหาการสั่นสะเทือนประเภทต่าง ๆ
- สามารถวิเคราะห์และอธิบายผลการคำนวณที่ได้จากปัญหาการสั่นสะเทือน
- สามารถลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาและออกแบบผลิตภัณฑ์
คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ หรือสาขาเทียบเท่า หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์หรือสนใจในการทำงานด้านการออกแบบ การผลิต หรือการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม
ข้อเสนอแนะ: ควรมีความรู้เรื่องซอฟต์แวร์ไฟไนต์เอลิเมนต์ขั้นพื้นฐาน
วันที่ฝึกอบรม
ระหว่างวันที่ 21 – 23 สิงหาคม 2567
สถานที่จัดฝึกอบรม
ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Convention Center) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 16,900 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
รับส่วนลด 10% เมื่อลงทะเบียน 2 ท่านขึ้นไปจากหน่วยงานเดียวกัน จ่ายเพียงท่านละ 15,210 บาท
**รบกวนรอการยืนยันเปิดหลักสูตรจากเจ้าหน้าที่ก่อนการชำระเงิน**
หมายเหตุ
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ค่าลงทะเบียนรวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการฝึกอบรมและคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังและเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
หน่วยงานที่ไม่ใช่ทางธุรกิจ ไม่แสวงหากำไร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ได้แก่ หน่วยงานราชการ องค์กรของรัฐ มูลนิธิ สมาคม โรงพยาบาลรัฐ และสถาบันการศึกษาของรัฐ)
รูปแบบการอบรม
บรรยายประกอบการใช้ Software NX (สถาบันฯ จัดคอมพิวเตอร์ให้ผู้เข้าร่วมอบรม)
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะจะได้รับใบประกาศนียบัตรพร้อมคะแนนสะสมของสภาวิศวกร (27 แต้ม)
หมายเหตุ: DECC (ทีมวิทยากร) ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกรให้เป็นองค์กรแม่ข่าย
เนื้อหาหลักสูตร
วันที่ 1 : ภาคทฤษฎี/ภาคปฏิบัติ (Workshop)
- Vibration and Finite Element Theory
- Modal Analysis
- Workshop Modal Analysis with multi component
วันที่ 2 : ภาคปฏิบัติ (Workshop)
- Harmonic Response Workshop
วันที่ 3 : ภาคปฏิบัติ (Workshop)
- Transient Response Workshop
วิทยากรประจำหลักสูตร
รศ.ดร. วิโรจน์ ลิ่มตระการ
อาจารย์ประจำภาควิชาเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายนิทัศน์ ปานอ่อน
ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบทางวิศวกรรม ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC)