หลักสูตรเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
(Alternative Battery Technology: ABT)
Key Highlights
-
- เรียนรู้พื้นฐานเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ (แบตเตอรี่สังกะสีไอออน และแบตเตอรี่โซเดียมไอออน) และการประยุกต์ใช้งาน
- ฝึกปฏิบัติการประกอบแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ แบบ Pouch Cell
- เก็บเกี่ยว Best Practice และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
- สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการออกแบบพัฒนาระบบแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่เพื่อการใช้งานต่าง ๆ
- เรียนรู้พื้นฐานเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ (แบตเตอรี่สังกะสีไอออน และแบตเตอรี่โซเดียมไอออน) และการประยุกต์ใช้งาน
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium-ion battery) เป็นอุปกรณ์กักเก็บพลังงานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเชิงพาณิชย์ และกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากมีสมรรถนะที่ดี น้ำหนักเบา และมีประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงานสูงเมื่อเทียบกับน้ำหนักของแบตเตอรี่โดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่บางประการ เช่น ติดไฟและระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อนสูง ใช้ส่วนประกอบโลหะหนักที่เป็นพิษ ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และวัตถุดิบหลักมีราคาสูง เนื่องจากแร่ลิเธียมมีปริมาณจำกัดและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงทำให้มีนักวิจัยมากมายพยายามที่จะศึกษาหาแบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่มีความคุ้มค่าและยั่งยืนเพื่อนำมาใช้ทดแทนแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนซึ่งแบตเตอรีสังกะสีไอออน (Zinc-ion Battery) และแบตเตอรีโซเดียมไอออน (Na-ion Battery) ถือเป็นแบตเตอรี่ทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากให้สมรรถนะที่ดี มีแหล่งวัตถุดิบปริมาณมากในประเทศและราคาถูก มีความปลอดภัยสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแบตเตอรี่ทั้งสองชนิดนี้สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ง่าย
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ สวทช. หรือ NSD ได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่ เพื่อความมั่นคงและการใช้งานเชิงพาณิชย์ โดยได้นำเทคโนโลยีกราฟีนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บประจุไฟฟ้าและยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ และได้ร่วมมือกับสถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต พัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ (Alternative Battery Technology: ABT) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ ตลอดจนส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเทคโนโลยีกับนานาประเทศ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ มุ่งเน้นแบตเตอรี่สังกะสีไอออน (Zinc Ion Battery) และแบตเตอรี่โซเดียมไอออน (Na Ion Battery) และการใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
- เพื่อให้ทดลองฝึกปฏิบัติการประกอบแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่แบบเซลล์ถุง (Pouch Cell)
- เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ล่าสุด และศักยภาพการพัฒนาในอนาคต
- เพื่อส่งเสริมโอกาสในการวิจัย พัฒนา และการลงทุนในการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ในประเทศไทย
- เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ มุ่งเน้นแบตเตอรี่สังกะสีไอออน (Zinc Ion Battery) และแบตเตอรี่โซเดียมไอออน (Na Ion Battery) และการใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม
- มีความเข้าใจในเทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบดั้งเดิมและแบตเตอรี่แบบทางเลือกใหม่
- ได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ และการใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
- ได้รับทราบแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ ทิศทางในอนาคต รวมถึงความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์ ระบบการจัดการแบตเตอรี่ และการรีไซเคิล
- เห็นโอกาสในการวิจัย พัฒนา และการลงทุนเพื่อการพัฒนาและใช้งานแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ในประเทศไทย
- ได้เก็บเกี่ยว Best Practice และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
กลุ่มเป้าหมาย
- วิศวกรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนาระบบแบตเตอรี่สำหรับการใช้งานต่าง ๆ
- วิศวกรวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
- วิศวกร นักวิจัย ในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ยานยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- วิศวกรด้านความยั่งยืน ที่สนใจการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ด้านระบบกักเก็บพลังงาน
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ มุ่งเน้นแบตเตอรี่สังกะสีไอออน และแบตเตอรี่โซเดียมไอออน ศักยภาพในการพัฒนา และการใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย การบรรยาย กรณีศึกษา และการฝึกปฏิบัติประกอบแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่แบบ Pouch Cell ดังนี้
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วัน) |
การบรรยาย กรณีศึกษา | 7 | 1.0 |
ฝึกปฏิบัติการ | 2 | 0.5 |
รวม | 9 |
1.5 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
- เทคโนโลยีแบตเตอรี่สังกะสีไอออน (Zinc-ion Battery)
- เทคโนโลยีแบตเตอรี่โซเดียมไอออน (Na-ion Battery)
- การเปรียบเทียบเทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียม สังกะสี และโซเดียม
- Workshop: การประกอบแบตเตอรี่สังกะสีไอออน (Pouch Cell)
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
-
หมายเหตุ: กำหนดการและสถานที่ศึกษาดูงานอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมโดยยังคงเนื้อหาและสาระสำคัญของการอบรมไว้
วิทยากรประจำหลักสูตร
ผู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระยะเวลา 2 วัน
ระหว่างวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน 2567
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 10,700 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
**พิเศษ!!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป
รับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียงท่านละ 9,630 บาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
หมายเหตุ
- กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567
- ผู้เข้าร่วมอบรมต้องส่งหลักฐานแสดงการตรวจ ATK ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม
- เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายอักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าวทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
สถานที่จัดฝึกอบรม
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% จึงจะได้รับวุฒิบัตร
จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81895 (คุณบรรยงก์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS