หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
การกำกับดูแล AI อย่างมีธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ
(AI Governance Workshop)
มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติเข้มข้นถึง 9 Workshops
เพื่อกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ AI ขององค์กร
เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ของระบบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ และเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือ
รวมทั้งสอดคล้องกับมาตรฐานสากลที่มีการอ้างอิงและใช้งานในปัจจุบัน
Key Highlights
-
- เรียนรู้มาตรฐาน AI ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการอ้างอิงที่สากลยอมรับ
- เรียนรู้วิธีการและมาตรการที่ช่วยป้องกันปัญหาความเสี่ยงในระบบ AI ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริงในการพัฒนาระบบ
- ฝึกการประเมินและจัดการความเสี่ยงในโครงการ AI เพื่อให้สามารถควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
- สามารถนำมาตรการ มาตรฐาน และวิธีปฏิบัติ ไปปรับใช้กับระบบงานขององค์กร เพื่อให้ได้ระบบ AI ที่มีความน่าเชื่อถือและพร้อมใช้งานได้จริงในธุรกิจ
- เรียนรู้มาตรฐาน AI ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการอ้างอิงที่สากลยอมรับ
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบงานเพื่อทำงานร่วมกับหรือทดแทนการทำงานของมนุษย์เป็นจำนวนมาก เช่น ระบบ ChatGPT ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาเหล่านั้นใช้เทคโนโลยีที่เรียกกันว่าปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) ซึ่งทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถคิดและดำเนินการในลักษณะเดียวกับหรือใกล้เคียงกับที่มนุษย์สามารถทำได้ ในบางกรณีการคิดและดำเนินการเหล่านั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการตัดสินใจโดยมนุษย์ เช่น ระบบผู้ชำนาญการ ระบบช่วยในการตัดสินใจ เป็นต้น ในขณะที่ในบางกรณี ระบบ AI บางระบบจะสามารถดำเนินการแทนมนุษย์ได้โดยอัตโนมัติ เช่น ระบบขับขี่ยานยนต์อัตโนมัติ เป็นต้น
เนื่องจากระบบ AI ดังกล่าวไม่ใช่มนุษย์ ดังนั้นการคิดและดำเนินการต่าง ๆ จึงมีโอกาสผิดพลาดและมีความเสี่ยงในลักษณะต่าง ๆ ได้ เช่น โมเดลของ AI ที่นำมาใช้งานอาจจะยังมีข้อบกพร่อง ซึ่งส่งผลให้ระบบ AI ทำงานหรือประมวลผลผิดพลาดได้ การใช้ประโยชน์ต่อยอดจากการประมวลผลที่ผิดพลาดของระบบ AI จึงยากที่จะกล่าวได้ว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบในลักษณะใดบ้าง
นอกจากนั้น โมเดลของ AI ที่นำมาใช้งานยังจำเป็นต้องใช้ฐานความรู้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์และประมวลผลของระบบ AI กรณีที่ฐานความรู้มีความคลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้อง หรืออาจมีความโน้มเอียง ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการประมวลผลได้
ในรอบระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 1 ทศวรรษ จะเห็นได้ชัดว่ามีระบบงานเกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผล ด้วยความนิยมที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ของการนำ AI มาใช้กับระบบงานขององค์กรและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดในการประมวลผลที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในข้างต้นนั้น จึงทำให้จำเป็นต้องมีวิธีการที่เป็นรูปธรรมเพื่อบริหารจัดการการนำระบบ AI มาใช้งานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ลดความเสี่ยงและผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
มาตรฐาน AI จึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการนำระบบ AI มาใช้งานให้อยู่ในระดับที่องค์กรทั่วไปยอมรับได้ มาตรฐาน AI หลักที่จะนำมาใช้ในหลักสูตรนี้ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 รายการดังนี้
-
-
- Artificial Intelligence Risk Management Framework (AI RMF 1.0) – กรอบการบริหารความเสี่ยงของ AI
- AI RMF PLAYBOOK – เป็นเอกสารที่ต่อยอดจากเอกสารรายการที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยมาตรการหรือวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่หน่วยงานหรือองค์กรสามารถนำมาใช้งานได้เพื่อลดความเสี่ยงของระบบ AI ให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
- ISO/IEC 42001:2023(E) Artificial Intelligence Management System – มาตรฐานสำหรับระบบบริหารจัดการ AI ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบ AI เพื่อจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ ตลอดวงจรชีวิตของระบบในลักษณะเดียวกับมาตรฐาน 2 รายการในข้างต้น
-
หลักสูตรนี้ได้พัฒนาขึ้นมาจากมาตรฐาน AI ดังกล่าว เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทดลองฝึกปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านั้นในการพัฒนาระบบ AI ของตนเองเพื่อลดความเสี่ยงในลักษณะต่าง ๆ อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือของระบบงานที่หน่วยงานหรือองค์กรพัฒนาขึ้นมาใช้งาน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ศึกษาและเรียนรู้มาตรฐานที่มุ่งเน้นการจัดการกับความเสี่ยงของระบบ AI ตลอดวงจรชีวิตของการใช้งาน
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความรู้และความเข้าใจในวิธีปฏิบัติหรือมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของระบบ AI ที่มาตรฐานเหล่านั้นได้กำหนดไว้
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ฝึกปฏิบัติประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ AI ที่องค์กรต้องการพัฒนาขึ้นมาใช้งานและบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ฝึกปฏิบัติเพื่อนำวิธีปฏิบัติหรือมาตรการของมาตรฐานดังกล่าวมาปรับใช้กับระบบงานขององค์กร เพื่อให้ได้ระบบที่มีความน่าเชื่อถือและมีระดับความมั่นใจที่สูงเพียงพอสำหรับการนำไปใช้งานตามลักษณะงานที่องค์กรต้องการ
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ศึกษาและเรียนรู้มาตรฐานที่มุ่งเน้นการจัดการกับความเสี่ยงของระบบ AI ตลอดวงจรชีวิตของการใช้งาน
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม
- เข้าใจมาตรฐานที่มุ่งเน้นการจัดการกับความเสี่ยงของระบบ AI ตลอดวงจรชีวิตของการใช้งาน
- เข้าใจวิธีปฏิบัติหรือมาตรการต่าง ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงของระบบ AI ที่มาตรฐานกำหนดไว้
- สามารถประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ AI ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
- สามารถนำวิธีปฏิบัติหรือมาตรการของมาตรฐานมาประยุกต์ใช้กับระบบงานขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้านไอที
- ผู้บริหารองค์กรที่จำเป็นต้องกำกับดูแลการนำ AI มาใช้ภายในองค์กร
- ผู้พัฒนาระบบ
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
- ผู้ปฏิบัติงานทั่วไปที่จำเป็นต้องพัฒนาระบบของตนเองที่มีการใช้งาน AI เป็นส่วนหนึ่งของระบบ
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานของ AI เพื่อนำไปใช้ในการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการนำระบบ AI มาใช้งานกับองค์กร ตลอดทั้งวงจรชีวิตของระบบ ตลอดจนนำความรู้ที่ได้รับมาฝึกทดลองปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว เพื่อให้ได้ทักษะอย่างแท้จริงและสามารถนำกลับไปปรับใช้งานกับองค์กรของผู้เรียนได้ รวมจำนวน 12 ชั่วโมง / 2 วันทำการ
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วัน) |
บรรยาย | 6 | 1 |
ฝึกปฏิบัติการ (Workshop) | 6 | 1 |
รวม | 12 | 2 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- ความรู้พื้นฐานของ AI ที่ควรทราบ
- ประเภทของ AI ที่มีการใช้งานกันโดยทั่วไป
- วงจรการพัฒนาระบบ AI
- มาตรฐาน AI ที่เกี่ยวข้อง
- การกำกับดูแล AI ที่ครอบคลุมถึง
- นโยบาย กระบวนการ ขั้นตอนปฏิบัติ และวิธีปฏิบัติสำหรับการกำหนด วัด และบริหารความเสี่ยงของ AI ขององค์กร
- โครงสร้างของการกำกับดูแล บทบาท และหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงของ AI ขององค์กร
- นโยบาย กระบวนการ ขั้นตอนปฏิบัติ และวิธีปฏิบัติสำหรับการกำหนด วัด และบริหารความเสี่ยงของ AI ขององค์กร
- การกำหนดความเสี่ยงของ AI ที่ครอบคลุมถึง
- การทำความเข้าใจและกำหนดบริบทขององค์กร
- การกำหนดหมวดหมู่ของระบบ AI ที่องค์กรมีการใช้งาน
- ความเสี่ยงและประโยชน์หรือคุณค่าที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงจากผู้ให้บริการภายนอกที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์หรือข้อมูลที่องค์กรมีการใช้งาน
- ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่ม สังคม และองค์กร
- การทำความเข้าใจและกำหนดบริบทขององค์กร
- การวัดความเสี่ยงของ AI ที่ครอบคลุมถึง
- การกำหนดวิธีการและตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการวัดความเสี่ยง
- การประเมินคุณสมบัติความน่าเชื่อถือของระบบ AI
- การกำหนดกลไกในการเฝ้าระวังและติดตามความเสี่ยงของระบบ AI
- การกำหนดวิธีการและตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการวัดความเสี่ยง
- การบริหารความเสี่ยงของ AI ที่ครอบคลุมถึง
- การจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้มีการประเมินไว้ เพื่อรับมือและบริหารจัดการ
- การกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการกับความเสี่ยง
- การบริหารจัดการกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการภายนอก
- การจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้มีการประเมินไว้ เพื่อรับมือและบริหารจัดการ
- ความรู้พื้นฐานของ AI ที่ควรทราบ
-
วิทยากรประจำหลักสูตร

ดร. บรรจง หะรังษี
รองกรรมการผู้จัดการ และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ
บริษัท ที-เน็ต จำกัด
- ISO/IEC 27001 (Certified Lead Auditor)
- ISO/IEC 20000 (Auditor Certificate) BCMS 25999
- Introduction to Capability Maturity Model Integration V1.2 Certificate
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 1 – 2 เมษายน 2568
เวลา 9.00 – 16.00 น.
(รวมระยะเวลาอบรม จำนวน 2 วัน)


ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 12,840 บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
- เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม - โปรโมชั่นพิเศษ!!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกัน
ตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป รับส่วนลดทันที 10%
หมายเหตุ
- กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 25 มีนาคม 2568
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรมและภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังและเข้าร่วมอบรมสัมมนาโดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการบรรยายตามความเหมาะสม
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
สถานที่จัดฝึกอบรม
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตร
จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81891 (คุณนิพัฒน์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS