Select Page

หลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการ
บริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ

(Agriculture System Integrator Development: ASID)

Key Highlights:

    • เป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทยที่จะปูพื้นความรู้สู่การเป็นผู้ให้บริการออกแบบติดตั้งระบบงานเกษตรอัจฉริยะ
    • ได้พบผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรและนักวิจัยด้านระบบโรงเรือนอัจฉริยะ
    • ได้ศึกษาดูงานระบบโรงเรือนอัจฉริยะที่ใช้งานแล้วจริง

หลักการและเหตุผล

          “ประเทศไทย 4.0” คือโมเดลที่มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เน้นเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และภาคบริการ การพัฒนางานด้านการเกษตรนับเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายของโมเดลดังกล่าว เนื่องจากภาคการเกษตรมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยมีรายงานว่า ในปี 2558 ภาคการเกษตรสร้างมูลค่าร้อยละ 9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แต่จากการคาดการณ์พบว่าสัดส่วนมูลค่าที่สร้างจากภาคการเกษตรจะเติบโตลดลง ทั้งที่มีอุปสงค์ต่อสินค้าภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อแนวโน้มสัดส่วนการสร้างมูลค่าที่ลดลงคือ “ผลผลิตต่อไร่” ในช่วงปี 2550 – 2558 ผลผลิตพืชเศรษฐกิจต่อไร่มีแนวโน้มคงตัว บางชนิดลดลง ในส่วนของปัจจัยการผลิต จำพวก เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังมีการใช้งานในอัตราที่สูงกว่าประเทศอื่นที่ทำการเกษตรลักษณะเดียวกัน

 

          รูปแบบเกษตรกรรมแบบ“สมาร์ทฟาร์มมิ่ง (Smart farming)” หรือระบบเกษตรอัจฉริยะที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและจำหน่าย ถือเป็นแนวทางการทำเกษตรสมัยใหม่ที่ตอบสนองต่อโมเดลประเทศไทย 4.0 หากแต่การพัฒนาเต็มไปด้วยความท้าทายเชิงเทคโนโลยีหลากหลายสาขาวิชา และเชิงบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับหลายองค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทาน เช่น เกษตรกร นักวิชาการ ผู้ประกอบการตลอดจนผู้บริโภค หลายองค์กรมุ่งความสนใจไปที่การยกระดับความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีของตัวเกษตรกรโดยตรง ในอีกมุมหนึ่งหากพัฒนาผู้ประกอบการที่ให้บริการออกแบบติดตั้งระบบเกษตรอัจฉริยะขึ้นมา จะช่วยเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น สวทช. โดย สถาบันวิทยาการ สวทช. ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช. (สท.) และ โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าวจึงได้พัฒนา “หลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการบริการโรงเรือนอัจฉริยะ (Agricultural System Integrator: ASI)” ขึ้น

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์

    1. พัฒนาธุรกิจผู้ให้บริการออกแบบติดตั้งระบบเกษตรอัจฉริยะในประเทศไทย
    2. พัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่
    3. ตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 ในภาคการเกษตร
    4. ถ่ายทอดความรู้ด้านระบบเกษตรอัจฉริยะไปสู่กลุ่มเป้าหมาย

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา

  1. เข้าใจความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม เพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่เกษตร 4.0
  2. ได้เรียนรู้เทคโนโลยีและดูงานสมาร์ทฟาร์มที่ใช้งานแล้วจริง
  3. ฝึกปฏิบัติใช้ความรู้จากการอบรมและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการเพื่อประกอบธุรกิจผู้ให้บริการออกแบบติดตั้งระบบเกษตรอัจฉริยะ

กลุ่มเป้าหมาย

บุคคลทั่วไป/ผู้ประกอบการที่สนใจ ประกอบธุรกิจบริการ
ด้านออกแบบติดตั้งระบบเกษตรอัจฉริยะ

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีการเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการทำธุรกิจผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบงานเกษตรอัจฉริยะอย่างครบวงจร ประกอบด้วย การบรรยาย การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการศึกษาดูงาน รวมจำนวน 48 ชั่วโมง/8 วันทำการ ดังนี้

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย และกรณีศึกษา 33 5.5
ฝึกปฏิบัติการ (Workshop)
9 1.5
ศึกษาดูงาน 6 1
รวม 48 8 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

 

      • เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming)
      • ประสบการณ์จริงจากผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ
      • มาตรฐานและข้อกำหนดทางอุตสาหกรรมการเกษตร
      • กลยุทธ์การตลาดและการสนับสนุนของ สวทช.
      • การเขียนแผนธุรกิจ
      • การศึกษาดูงานฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเกษตรอัจฉริยะและผู้ชำนาญการ
ด้านการเกษตรจากภาครัฐและเอกชน

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระหว่างวันที่ 26 – 30 มีนาคม และ 2 – 4 เมษายน 2561)
(ตลอดระยะเวลา 8 วัน)

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 16,500 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

หมายเหตุ

    • กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 16 มีนาคม 2561
    • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
    • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
    • หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 10 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
    • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดอบรม

โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว แบงค็อก วินด์เซอร์
เลขที่ 10/1 ซอยสุขุมวิท 20 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย
เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page