หลักสูตรหลักการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์
ของผลิตภัณฑ์
(Carbon Footprint of Products: CFP)
หลักการและเหตุผล
การปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้พลังงาน การเกษตร การพัฒนาและขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่าและการทำลายสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่นๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมในฐานะผู้ผลิต ภาคบริการในฐานะผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม รวมถึงภาคประชาชนในฐานะผู้บริโภค
จากความตื่นตระหนกถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้หลายหน่วยงานเริ่มให้ความสนใจต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจก (Green House Gas: GHG) หรือที่เรียกว่า Carbon Profile (ข้อมูลรวมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) คือ ปริมาณรวมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สเรือนกระจกอื่นๆ อาทิ แก๊สมีเทน แก๊สหัวเราะ เป็นต้น ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ (ตามข้อกำหนด ISO 14040) ตลอดวัฏจักรชีวิต
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ได้ตระหนักความสำคัญดังกล่าว จึงได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พัฒนาหลักสูตร “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products: CFP)” เพื่อเร่งสร้างบุคลากรให้เกิดความชำนาญตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีข้อมูลการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันในตลาดโลก
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อสร้างบุคลากรที่ต้องการเป็นที่ปรึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของผลิตภัณฑ์สำหรับประเทศไทย
- เพื่อศึกษาและคำนวณปริมาณการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์
- เพื่อนำข้อมูลปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ได้ไปขอการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งให้การรับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
- เพื่อให้ผู้ประกอบการนำความรู้ที่ได้จากการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ไปพัฒนาต่อยอดกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- เพื่อสร้างบุคลากรที่ต้องการเป็นที่ปรึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของผลิตภัณฑ์สำหรับประเทศไทย
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม
- เข้าใจหลักเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์สำหรับใช้เป็นกลไกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- เข้าใจและปฏิบัติตามหลักการคำนวณปริมาณการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products: CFP) ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย
- ปรับใช้เป็นแนวทางและเป็นเครื่องมือในการประเมินการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าตลอดวัฏจักรชีวิตให้มีการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกให้น้อยลง
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้ประกอบอาชีพเป็นที่ปรึกษาในด้านวิศวกรรม
- ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรีด้านวิศวกรรมหรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติหรือมีประสบการณ์เหมาะสมในการพัฒนาเป็นผู้ให้บริการปรึกษาแนะนำด้านวิศวการอย่างน้อย 5 ปี
- อาจารย์ในสถาบันการศึกษา ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวข้องกับงานเชิงวิศวกรรม
- เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรม
- ผู้ชำนาญการในภาคอุตสาหกรรมซึ่งอาจมีตำแหน่งหน้าที่บ่งบอกถึงความชำนาญในสาขาที่เหมาะสม
- ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการสร้างที่ปรึกษาด้านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายในองค์กร
โครงสร้างหลักสูตร
ผู้เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในหลักการและสามารถประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ตามแนวทางและหลักเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย และเพื่อนำไปสู่การแสดงเจตนารมณ์ในการรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัทในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์และบริการ โดยมีองค์ประกอบของเนื้อหาหลักสูตร ดังนี้
-
- ที่มาและหลักการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
- หลักการพื้นฐานและแนวคิดการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์
- ขั้นตอนการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์
- การจัดทำข้อกำหนดรายผลิตภัณฑ์สำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Product Category Rules, PCRs)
- แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศไทย
- ฝึกปฏิบัติการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์
- ที่มาและหลักการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
วิทยากรประจำหลักสูตร
ผู้ทวนสอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ประเภทบุคคล (Registered CFP Verifier) รับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 13 – 15 พฤศจิกายน 2567
ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ จะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และฝึกปฏิบัติการ
ตลอดระยะเวลา 3 วัน (21 ชั่วโมง)
ค่าลงทะเบียน
- ท่านละ 12,840 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันแปดร้อยสี่สิบบาท)
รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม - **โปรโมชั่นพิเศษ!!! หากท่านลงทะเบียนพร้อมกัน 2 หลักสูตร
(หลักสูตร LCA + หลักสูตร CFP)
ท่านจะได้รับส่วนลดทันที 10% เหลือเพียง 23,112 บาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) - กรุณาชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567
หมายเหตุ:
-
- ผู้เข้าร่วมอบรมต้องส่งหลักฐานผลการตรวจ ATK ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม
- เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายอักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าวทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ผู้เข้าร่วมอบรมต้องส่งหลักฐานผลการตรวจ ATK ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม
สถานที่จัดฝึกอบรม
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และ
ทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81895 (คุณบรรยงก์)
เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 08 1825 5143
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS