Select Page

หลักสูตรการสร้างผลิตภัณฑ์คอมโพสิต
ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ รุ่นที่ 2

(Composite Product Creation by 3D Printing Technology: CPC2)

 

“Composite Materials – the Future of 3D Printing Materials”

Key Highlights:

    • เห็นโอกาสทางธุรกิจในการสร้างนวัตกรรมการพิมพ์สามมิติด้วยวัสดุคอมโพสิต
    • เจาะลึกวัสดุคอมโพสิตและการใช้งานในงานพิมพ์สามมิติ
    • เรียนรู้การเลือกใช้วัสดุคอมโพสิตกับการพิมพ์สามมิติในลักษณะต่างๆ
    • ต่อยอดงานพิมพ์สามมิติด้วยเทคโนโลยีหมึกพิมพ์อัจฉริยะ (หมึกนำไฟฟ้าได้)
    • ฝึกปฏิบัติสร้างชิ้นงานสามมิติจากวัสดุคอมโพสิต และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงกับผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์สามมิติ

หลักการและเหตุผล

          ปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing Technology) มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก สามารถตอบโจทย์ให้กับแวดวงต่างๆ และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา (Education) การออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Industry) งานด้านวิศวกรรม (Engineering) งานด้านสถาปัตยกรรม (Architecture) การแพทย์และทันตกรรม (Medical & Dental) การออกแบบแฟชั่นและเครื่องประดับ (Fashion & Jewelry) การบินและอวกาศ (Aerospace) อาหาร (Food) และอื่นๆ อีกมากมาย

 

          เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติซึ่งประกอบด้วยเครื่องพิมพ์ ซอฟแวร์แอปพลิเคชั่น และวัสดุการพิมพ์ ล้วนได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น แพร่หลายมากขึ้น และมีราคาถูกลง โดยเฉพาะนวัตกรรมทางด้านวัสดุที่ใช้พิมพ์ที่มีการคิดค้นให้มีวัสดุใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อตอบสนองการใช้งานเฉพาะด้าน การมีสมบัติพิเศษที่โดดเด่น และการเพิ่มมูลค่าแก่งานพิมพ์สามมิติ จึงมีการค้นคว้าวิจัยพัฒนาวัสดุสำหรับการพิมพ์สามมิติแบบใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานเฉพาะด้านที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 Gartner บริษัทวิจัยและให้คำแนะนำด้าน IT ของสหรัฐอเมริกา ได้เผย 10 กลยุทธ์แนวโน้มเทคโนโลยีสำหรับปี 2016 (Top 10 Strategic Technology Trends for 2016) โดย 1 ในกลยุทธ์ที่ Gartner ให้ความสำคัญที่จะมีผลทำให้ธุรกิจดิจิทัล (Digital Business) ประสบความสำเร็จได้ภายในปี 2020 คือธุรกิจด้านวัสดุสำหรับการพิมพ์สามมิติ (3D Printing Materials) โดยชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาวัสดุแบบใหม่ๆ จะเป็นการประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่หลากหลายด้วยนวัตกรรมที่ก้าวหน้า ซึ่งให้ผลตอบสนองที่ตรงตามต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ตัวอย่างเช่น วัสดุยุคใหม่จำพวก Advanced Nickel Alloy, Carbon Fiber, แก้ว, Conductive Ink, อุปกรณ์ไฟฟ้าแบบฉลาด, ยา หรือแม้แต่วัสดุทางชีวภาพ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะสามารถสร้างความต้องการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง และเติมเต็มความต้องการในอุตสาหกรรมใหม่ๆ และทำให้การเติบโตของอุปกรณ์การพิมพ์สามมิติในระดับองค์กรมีแนวโน้มเติบโตสูงถึง 64.1% ต่อปีไปจนถึงปี 2019 และจะยังคงเป็นธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่องไปอีก 20 ปีนับจากวันนี้

 

          จากแนวโน้มดังกล่าว เป็นแรงจูงใจให้นักพัฒนาวัสดุสำหรับการพิมพ์สามมิติ ได้ทุ่มเทศึกษาและพัฒนาวัสดุรูปแบบใหม่ๆ ที่มีการใช้วัตถุดิบมากกว่าหนึ่งชนิดมาใช้ในการสร้างชิ้นงานต้นแบบของผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อน และก่อให้เกิดคุณสมบัติใหม่ที่เป็นประโยชน์กว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการนำวัสดุ A กับวัสดุ B ที่ต่างสถานะกันทางเคมีหรือทางโครงสร้าง มาผสมผสานกันเป็นวัสดุตัวใหม่ที่มีสมบัติโดดเด่นเฉพาะตัว เป็นวัสดุคอมโพสิต (Composite Material) ที่มีการใช้งานในหลากหลายรูปแบบ เช่น แผ่นซีดี ขวดน้ำ หมวกกันน็อค ชิ้นส่วนตกแต่งภายในและภายนอกรถยนต์ วัสดุที่ต้องการความแข็งแรงและน้ำหนักเบา เช่น ชิ้นส่วนในอากาศยาน วัสดุก่อสร้างบางชนิด รวมถึงวัสดุเก็บเสียงและฉนวนกันความร้อน

 

          สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาหลักสูตรการสร้างผลิตภัณฑ์คอมโพสิตด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (Composite Product Creation by 3D Printing Technology: CPC) ขึ้น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติกับการประยุกต์ใช้วัสดุคอมโพสิตในงานพิมพ์สามมิติ และเปิดมุมมองโอกาสธุรกิจใหม่ให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วัสดุคอมโพสิตในประเทศไทย สำหรับการฝึกอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ศึกษาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติในประเทศไทยและต่างประเทศ ความรู้เกี่ยวกับวัสดุคอมโพสิตและการเลือกวัสดุคอมโพสิตที่เหมาะสมกับการพิมพ์สามมิติจากผู้เชี่ยวชาญการใช้วัสดุพลาสติกและคอมโพสิต และได้ทราบเกณฑ์การเลือกเครื่องพิมพ์สามมิติให้เหมาะสมกับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องพิมพ์สามมิติ

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ และการประยุกต์ใช้วัสดุคอมโพสิตในงานพิมพ์สามมิติ
    2. เพื่อให้สามารถพิจารณาองค์ประกอบในการใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติสำหรับแต่ละลักษณะงานหรืออุตสาหกรรมและเลือกใช้วัสดุคอมโพสิตในงานพิมพ์สามมิติลักษณะต่างๆ ได้
    3. เพื่อเปิดมุมมองโอกาสทางธุรกิจใหม่ให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วัสดุคอมโพสิต และส่งเสริมการใช้งานวัสดุคอมโพสิตกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติในประเทศไทย
    4. เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติในการสร้างสรรค์งานผลิตเชิงดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา

  1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ และวัสดุคอมโพสิต รวมถึงการประยุกต์ใช้งานร่วมกันในการทำต้นแบบผลิตภัณฑ์
  2. เห็นโอกาสในการประยุกต์ใช้งานวัสดุคอมโพสิตกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ รวมถึงปัญหาอุปสรรค และประสบการณ์ในการพัฒนานวัตกรรมการพิมพ์สามมิติทางด้านพลาสติกและคอมโพสิต
  3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการตัดสินใจลงทุนในเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ และสามารถประยุกต์งานพิมพ์สามมิติให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาตนเองได้

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  1. นักลงทุน/ผู้ประกอบการที่สนใจและมีวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเพื่อการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย
  2. นักเทคโนโลยีการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต
  3. หน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
  4. ภาคการศึกษาที่ต้องการก้าวให้ทันกับรูปแบบเครื่องมือการศึกษาสมัยใหม่
  5. ประชาชนทั่วไปที่สนใจการใช้งานวัสดุคอมโพสิตในงานพิมพ์สามมิติ

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติกับการประยุกต์ใช้วัสดุคอมโพสิตในงานพิมพ์สามมิติ และเปิดมุมมองโอกาสธุรกิจใหม่ให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วัสดุคอมโพสิตในประเทศไทย ประกอบด้วยการบรรยาย การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และฝึกปฏิบัติการ รวม 12 ชั่วโมง/2 วันทำการ ดังนี้​

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติการ 12 2
รวม 12 2 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

      • ความรู้พื้นฐาน หลักการและความน่าสนใจของเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ
      • แนวโน้ม เทคโนโลยี และโอกาสทางการตลาดจากเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ
      • การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ในการทำงานพิมพ์สามมิติอย่างเหมาะสม
      • กรณีศึกษา โอกาสของการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติและวัสดุคอมโพสิตในงานออกแบบสร้างสรรค์
      • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหมึกพิมพ์อัจฉริยะ (Printed Electronics) ในงานพิมพ์สามมิติ
      • การใช้งานวัสดุพลาสติกและคอมโพสิตในการพิมพ์สามมิติ
      • การเปรียบเทียบระบบการพิมพ์สามมิติ และสาธิตขั้นตอนการทำงาน
      • เวิร์กช็อป สาธิตและลงมือทำ กระบวนการและการพิมพ์ชิ้นงานสามมิติ

หมายเหตุ:

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักสูตร และวิทยากร ตามความเหมาะสมและความจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ
และวัสดุคอมโพสิต ทั้งภาครัฐและเอกชน

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2560
ตลอดระยะเวลา 2 วัน ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และฝึกปฏิบัติ
รวมจำนวนชั่วโมงทั้งหมด 12 ชั่วโมง

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 12,900 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

หมายเหตุ

    • กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 4 พฤษภาคม 2560
    • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
    • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
    • หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 10 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
    • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดอบรม

โรงแรมรามาดา บาย วินแดม แบงคอก เจ้าพระยาปาร์ค
เลขที่ 247 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

เกณฑ์การประเมินผล

ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80%
และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพสำหรับการจัดฝึกอบรมและการศึกษา ISO 10015​

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81895 (บรรยงก์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page