หลักสูตรการบริหารจัดการและการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ รุ่นที่ 3
(Cyber Security Incident Management: CSM)
มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งทีมบริหารจัดการเหตุการณ์
ด้านความมั่นคงปลอดภัย
เพื่อรับมือจากภัยคุกคามทางไซเบอร์จนถึงการกู้คืนระบบกลับคืน
Key Highlights
-
- เรียนรู้และเข้าใจสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
- เจาะลึกมาตรฐานและมาตรการสำหรับการบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย
- เตรียมความพร้อมในการจัดตั้งทีมบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย
- ฝึกวิเคราะห์อย่างเข้มข้น เพื่อรับมือจากภัยคุกคามทางไซเบอร์จนถึงการกู้คืนระบบกลับคืน มากกว่า 10 Workshop
- เรียนรู้และเข้าใจสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
หลักการและเหตุผล
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และครอบคลุมทุกอุปกรณ์สื่อสาร เรามักจะพบข่าว การหลอกลวงล้วงข้อมูล การโจมตีระบบ การขโมยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้นทุกวัน ซึ่งเหล่านี้เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และปัจจุบันทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบและความเสียหายต่อทั้งระดับบุคคล ระดับองค์กร และระดับประเทศ หน่วยงานหรือองค์กรจึงจำเป็นต้องมีกลไกสำหรับการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสำหรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์อย่างเป็นรูปธรรม โดยจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นอย่างมืออาชีพ หลักสูตรนี้จึงมีความประสงค์ต้องการให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนทักษะที่จำเป็นในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
-
-
-
- สาระสำคัญของ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 (พรบ. ไซเบอร์)
- สิ่งที่องค์กรต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับ พรบ. ไซเบอร์
- มาตรการที่จำเป็นต้องนำมาปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ พรบ. ไซเบอร์ (อ้างอิงจากมาตรฐาน Framework for Improving Critical Infrastructure Cybersecurity)
- มาตรฐาน ISO ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการรับมือและบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น
-
-
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของ พรบ. ไซเบอร์ และปฏิบัติตามความต้องการของ พรบ. ไซเบอร์ ได้อย่างสอดคล้อง
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความรู้และความเข้าใจในมาตรการที่จำเป็น สามารถจัดทำแผนบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย และจัดเตรียมทรัพยากรที่จำสำหรับการบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเข้าใจแนวทางในการจัดตั้งทีมบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝึกวิเคราะห์และรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของ พรบ. ไซเบอร์ และปฏิบัติตามความต้องการของ พรบ. ไซเบอร์ ได้อย่างสอดคล้อง
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ได้รับความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของ พรบ. ไซเบอร์ การปฏิบัติตามให้สอดคล้องกับความต้องการของ พรบ. ไซเบอร์ มาตรการที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ และมาตรฐาน ISO ที่เกี่ยวข้อง
- ได้รับความรู้และความเข้าใจในการจัดตั้งทีมบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการจัดทำแผนบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์
- ได้รับการฝึกทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์และซ้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งรวมถึงทักษะการจัดเก็บหลักฐานด้านคอมพิวเตอร์ด้วย
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการป้องระวังความมั่นคงปลอดภัย (เช่น CERT NOC เป็นต้น)
- ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์
- ผู้ดูแลเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ
- เจ้าหน้าที่พัฒนาระบบ
- ผู้จัดการด้านไอที
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ พรบ. ไซเบอร์ การปฏิบัติตามให้สอดคล้องกับความต้องการของ พรบ. ไซเบอร์ มาตรการที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ มาตรฐาน ISO ที่เกี่ยวข้อง การจัดตั้งทีมบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการจัดทำแผนบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลอดจนฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นกับการวิเคราะห์และรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึงทักษะการจัดเก็บหลักฐานด้านคอมพิวเตอร์ รวม 24 ชั่วโมง / 4 วันทำการ
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วัน) |
บรรยาย และกรณีศึกษา | 14 | 2 |
ฝึกปฏิบัติการ (Workshop) | 10 | 2 |
รวม | 24 | 4 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- สาระสำคัญของ พรบ. ไซเบอร์
- สิ่งที่องค์กรต้องปฏิบัติตามเพื่อให้สอดคล้องกับ พรบ. ไซเบอร์
- มาตรฐานและมาตรการสำหรับการบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย
- มาตรฐาน ISO ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย
- ทีมบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ
- นโยบายการบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย
- แผนบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย
- การจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนและรองรับแผนบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย
- การซ้อมแผนการบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย
- การวิเคราะห์กรณีศึกษาเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย แต่ละกรณีจะต้องวิเคราะห์
-
- การจำกัดหรือลดผลกระทบของเหตุที่เกิดขึ้น
- การจัดเก็บข้อมูลหลักฐานด้านคอมพิวเตอร์
- การขจัดปัญหาที่สาเหตุ
- การกู้คืนระบบ
-
-
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
ดร. บรรจง หะรังษี
รองกรรมการผู้จัดการ และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ
บริษัท ที-เน็ต จำกัด
ISO/IEC 27001 (Certified of Lead auditor), ISO/IEC 20000 (Auditor Certificate) BCMS 25999,
Introduction to Capability Maturity Model Integration V1.2 Certificate
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 12 – 15 มีนาคม 2567
เวลา 9.00 – 16.00 น.
(รวมระยะเวลาอบรม จำนวน 4 วัน)
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 34,900 บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
- เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม - โปรโมชั่นพิเศษ!!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกัน
ตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป รับส่วนลดทันที 10%
หมายเหตุ
- กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรมและภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังและเข้าร่วมอบรมสัมมนาโดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการบรรยายตามความเหมาะสม
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
สถานที่จัดฝึกอบรม
โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ
เลขที่ 477 ถนนศรีอยุธยา แขวงพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตร
จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81891 (คุณนิพัฒน์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS