หลักสูตรการจัดการศูนย์ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รุ่นที่ 4
(Data Center Management for Operational Efficiency: DCM4)
รู้ลึก ถึงการออกแบบระดับมาตรฐานของศูนย์ข้อมูล (Tier Classification)
อุปกรณ์ (Components) และระบบต่างๆ (Systems) เช่น ระบบไฟฟ้า
ระบบทำความเย็น ระบบเน็ตเวิร์ค ที่ตรงตามข้อกำหนดของ
มาตรฐานศูนย์ข้อมูล Uptime Institute BICSI และ TIA-942
Key Highlights:
-
- การออกแบบความต้องการโหลดทั้งหมดของศูนย์ข้อมูล และการออกแบบเพื่อรองรับความต้องการเติบโตในการขยายตัวในอนาคต
- การออกแบบแผนผังและการจัดวางอุปกรณ์และระบบต่างๆ ภายในศูนย์ข้อมูลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่สูงสุด
- หลักการออกแบบศูนย์ข้อมูลให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานระดับชั้น (Tier Classification) ของศูนย์ข้อมูล
- หลักการในการประเมินความเสี่ยงของศูนย์ข้อมูล (Single Points of Failure)
- การออกแบบเพื่อประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน Corporate Average Datacenter Efficiency (CADE) และ Power Usage Effectiveness (PUE)
- การบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตามแนวทางที่ได้ออกแบบไว้
- การออกแบบความต้องการโหลดทั้งหมดของศูนย์ข้อมูล และการออกแบบเพื่อรองรับความต้องการเติบโตในการขยายตัวในอนาคต
หลักการและเหตุผล
ในการออกแบบศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นเดียวกันกับการออกแบบบ้าน ซึ่งต้องมุ่งไปยังความต้องการใช้งานหน้าที่ (Functions) ที่แตกต่างกันของเจ้าบ้านหรือธุรกิจนั้นเอง นอกจากยังต้องมีการประเมินล่วงหน้าว่าจะมีลูกกี่คน ขนาดของบ้านจึงจะมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (การเติบโตของธุรกิจ) ฉะนั้นที่ปรึกษาหรือหัวหน้าโครงการจะต้องเข้าใจในข้อจำกัดพื้นฐานในการออกแบบในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงบประมาณ ทำให้ทีมออกแบบต้องออกแบบให้ตรงกับงบประมาณที่ได้มา หรือมีข้อจำกัดในแง่ของพื้นที่ก็จะต้องมีการทำตัวต้นแบบก่อนเพื่อหาข้อสรุป หรือมีปัญหาเรื่องของเวลา ว่าระยะเวลาให้ตรงตามเวลาที่ต้องการในการเปิดใช้งานระบบ หรือให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานและกฎหมาย การตัดสินใจที่รวดเร็วและมีข้อมูลสนับสนุนที่เพียงพอจะลดความผิดพลาด (Mistake/Fault/Error) ในการออกแบบได้ ทุกโครงการของการออกแบบศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ย่อมมีปัญหา และแต่ละปัญหาก็มีแนวทางในการแก้ไม่เหมือนกัน โดยเพราะปัจจัยของคน เวลา สถานที่ และขึ้นอยู่กับความเข้าใจในเหตุและผล (Cause-Effect) รวมทั้งความรวดเร็วในการตอบสนอง (Responsiveness) ต่อปัญหาด้วยความรู้และความเข้าใจที่แท้จริง (Knowledge Management) ทั้งในเชิงวิชาการและปฏิบัติ โดยหลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อผู้บริหารในระดับปฏิบัติการศูนย์ข้อมูล หรือวิศวกรระดับบริหารขึ้นไป หรือวิศวกรอาวุโส ซึ่งเนื้อหาในการบรรยายทั้งหมดจะเน้นไปยังการเข้าใจหลักการในประเมินความสามารถในการให้บริการของระบบและความเสี่ยงของศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่ รวมทั้งการออกแบบระบบใหม่หรือปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น การซ่อมบำรุงระบบที่สำคัญของศูนย์ข้อมูล ให้เป็นไปตามหลักการ ตรวจสอบ ซ่อมบำรุง และการหลีกเลี่ยง Monitoring & Maintenance and Avoidance (MMA) ของระบบต่างๆ เช่น ระบบจัดการอาคาร ระบบการจ่ายไฟฟ้า ระบบทำความเย็น ระบบเน็ตเวิร์คและการสื่อสาร และระบบสนับสนุนอื่น เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานท่านเองเป็นสำคัญ โดยมีระยะเวลาในการอบรมแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1: การอบรมทางเทคนิค 3 วัน และ ช่วงที่ 2: การศึกษาดูงานในประเทศ 1 วัน
วัตถุประสงค์
-
- เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานในการกำหนดแนวคิดในการออกแบบศูนย์ข้อมูล
- เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานนานาชาติของศูนย์ข้อมูล (Uptime Institute, TIA-942, BICSI-002), TSI, และร่างมาตรฐานศูนย์ข้อมูลของไทย รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการออกแบบศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย
- การเข้าใจฟังก์ชันพื้นฐานในการออกแบบศูนย์ข้อมูลให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจ
- สามารถกำหนดขนาดและการจัดวางพื้นที่ของศูนย์ข้อมูล ซึ่งจะต้องคำนึงถึงจำนวนของตู้แร็คและขนาดของอุปกรณ์ต่างๆ ช่องทางในการซ่อมบำรุงและขนย้าย การรักษาความปลอดภัย ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของพื้นที่และอุปกรณ์ ตรงตามมาตรฐานศูนย์ข้อมูล
- สามารถออกแบบระบบหลักในศูนย์ข้อมูล เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบเน็ตเวิร์คและสายสัญญาณ ให้รองรับปริมาณโหลดที่ได้คำนวณไว้และเป็นไปตามกำหนดมาตรฐานระดับของ Tier ของศูนย์ข้อมูล Uptime BICSI and TIA-942
- เข้าใจหลักการพื้นฐานในการออกแบบระบบหลักๆ ของศูนย์ข้อมูล เพื่อเพิ่มความสามารถการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ Corporate Average Datacenter Efficiency (CADE) และ Power Usage Effectiveness (PUE)
- เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานในการกำหนดแนวคิดในการออกแบบศูนย์ข้อมูล
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา
- สามารถทำ Self-Assessment ดาต้าเซ็นเตอร์ภายในองค์กรของตัวเอง
- เข้าใจหลักการออกแบบศูนย์ข้อมูลดาต้าตามมาตรฐานสากล
- เข้าใจแนวทางการแก้ไขเพื่อลดระยะเวลาที่ระบบไม่สามารถให้บริการได้ หรือ Downtime ของ ศูนย์ข้อมูล
- พัฒนาโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของศูนย์ข้อมูล Corporate Average Datacenter Efficiency (CADE) และ Power Usage Effectiveness (PUE)
- ได้รับความรู้ประสบการณ์จากหน่วยงานชั้นนำของภูมิภาค
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้บริหารในระดับปฏิบัติการศูนย์ข้อมูล (COO) จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
- วิศวกรระดับบริหารขึ้นไป (Engineering Director)
- หัวหน้าวิศวกรในการควบคุมงานโครงการ (Senior Project Manager)
- วิศวกรอาวุโสที่มีประสบการณ์ในการบริหารปฏิบัติการศูนย์ข้อมูลมากกว่า 10 ปี
- ที่ปรึกษาศูนย์ข้อมูล ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมามากกว่า 5 ปี
- ผู้ที่สนใจในการออกแบบและปฏิบัติการศูนย์ข้อมูล ควรจบปริญญาตรีในสาขา ไฟฟ้า หรือเครื่องกล หรืออุตสาหการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการในการประเมินความสามารถในการให้บริการของระบบและความเสี่ยงของศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่ รวมทั้งการออกแบบระบบใหม่หรือปรับปรุงหรือเพิ่มเติมระบบที่มีอยู่ให้ทันสมัยขึ้น การวางแผนการการซ่อมบำรุง อุปกรณ์หรือระบบที่สำคัญของศูนย์ข้อมูล โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานเป็นสำคัญ ประกอบด้วยการบรรยาย เสวนา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กรณีศึกษา และการศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูล รวม 24 ชั่วโมง/ 4 วันทำการ
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วัน) |
บรรยาย เสวนา กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติ | 18 | 3 |
ศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานชั้นนำในประเทศ |
6 | 1 |
รวม | 24 | 4 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- องค์ประกอบและระบบพื้นฐาน และมาตรฐานศูนย์ข้อมูล
- การเลือกที่ตั้งและการวิเคราะห์อาคารศูนย์ข้อมูล
- หลักการออกแบบระบบไฟฟ้า
- หลักการออกแบบระบบทำความเย็น
- หลักการออกแบบระบบเน็ตเวิร์คและสายสัญญาณ
- การวิเคราะห์ความเสี่ยงของศูนย์ข้อมูล Critical Infrastructure และ Single Points of Failure
- หลักการคำนวณประสิทธิภาพการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลตามเกณฑ์ของ Corporate Average Datacenter Efficiency (CADE) และ Power Usage Effectiveness (PUE)
- หลักการบริหารดำเนินการของศูนย์ข้อมูล
- ศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานชั้นนำในประเทศ
- องค์ประกอบและระบบพื้นฐาน และมาตรฐานศูนย์ข้อมูล
-
หมายเหตุ:
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักสูตร วิทยากร และสถานที่ดูงาน
ตามความเหมาะสมและความจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
วิทยากรประจำหลักสูตร
ผศ.ดร. มนตรี วิบูลยรัตน์
อาจารย์ประจำวิทยาลัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ กรุงเทพมหานคร
และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบศูนย์ข้อมูล
Certificate:
-
- Accredited Tier Designer (ATD) from Uptime Institute, LLC.
- Certified Service Oriented Enterprise Professional (CSOEP) from BICSI Continuing Education Credit Provider.
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 18 – 21 กันยายน 2560
ตลอดระยะเวลา 4 วัน ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี
ฝึกปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และศึกษาดูงาน
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 24,900 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
**พิเศษ!! หากชำระเงินภายในวันที่ 31 สิงหาคม 256
รับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียง 22,410 บาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
หมายเหตุ
-
- กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 14 กันยายน 2560
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 10 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
สถานที่จัดอบรม
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80%
และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพสำหรับการจัดฝึกอบรมและการศึกษา ISO 10015
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS