Select Page

หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
ความรู้พื้นฐานสำหรับช่างติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า
สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

 (Fundamental of EV Charger Installation: ECI)

Key Highlights

 

    • เรียนรู้พื้นฐานการออกแบบและติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า หลักการกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเทคนิคการติดตั้งอย่างถูกต้องและปลอดภัย
    • ลงมือฝึกปฏิบัติเข้มข้นกับเครื่อง EV Charger และทดสอบการชาร์จกับรถยนต์ไฟฟ้าจริง
    • สามารถนำความรู้ไปใช้เพื่อการปรับตัวและเตรียมความพร้อมสู่การติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าอย่างมืออาชีพ

หลักการและเหตุผล

          ปัจจุบันตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำธุรกิจและให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) อาจต้องเริ่มมองหาช่องทางธุรกิจใหม่ๆ ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) ที่กำลังจะเข้ามาแทนที่รถยนต์สันดาปภายในในอนาคต

 

          หนึ่งในธุรกิจที่คาดว่าจะมีโอกาสเติบโตไปพร้อมๆ กับการขยายตัวของยานยนต์ไฟฟ้าคือ ธุรกิจติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า นอกเหนือจากธุรกิจเปลี่ยนแบตเตอรี่ ธุรกิจซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า และธุรกิจพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้งานร่วมกับยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าอย่างถูกต้อง มีมาตรฐาน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย จึงมีความสำคัญมาก ดังนั้น สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต จึงได้พัฒนาหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ “ความรู้พื้นฐานสำหรับช่างติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า” ขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพช่างติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าให้มีความรู้พื้นฐานด้านการติดตั้ง สามารถออกแบบและติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงเข้าใจหลักการกฎหมาย/ข้อกำหนด/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าได้อย่างมืออาชีพ

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ หลักการ กฎหมาย/ข้อกำหนด/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความปลอดภัย ในการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
    2. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า รวมถึงเทคนิคการติดตั้งอย่างถูกต้องและปลอดภัย
    3. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ การคำนวณ การเลือกอุปกรณ์ การติดตั้ง การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า และการตรวจสอบระบบเบื้องต้น
    4. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมินผลจากเครื่องมือวัด

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  • ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการกฎหมาย/ข้อกำหนด/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความปลอดภัยในการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
  • ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบและติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า รวมถึงเทคนิค การติดตั้งอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  • สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการคำนวณ การเลือกอุปกรณ์ การติดตั้ง การเชื่อมต่อระบบ ไฟฟ้า และการตรวจสอบระบบเบื้องต้น
  • สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลจากเครื่องมือวัด

กลุ่มเป้าหมาย

  • ช่างไฟฟ้ากำลัง
  • หัวหน้าช่างรับเหมา
  • เจ้าของอาคาร/สถานที่
  • ผู้สนใจทั่วไป

**คุณสมบัติของผู้สมัคร: ต้องมีความรู้พื้นฐานด้านไฟฟ้ากำลัง**

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า หลักการ/กฎหมาย/ข้อกำหนด/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเทคนิคในการติดตั้งอย่างถูกต้องและปลอดภัย ประกอบด้วย การคำนวณ การเลือกอุปกรณ์ การติดตั้ง การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า และการตรวจสอบระบบเบื้องต้น การวิเคราะห์ และประเมินผลจากเครื่องมือวัด รวมจำนวน 12 ชั่วโมง/2 วันทำการ ดังนี้

ระยะเวลารวม 2 วัน: ทฤษฎี 1 วัน Workshop 1 วัน

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย 6 1
ฝึกปฏิบัติการ (Workshop) 6 1
รวม 12 2 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

      • หลักการและข้อมูลทั่วไปของยานยนต์ไฟฟ้า และสถานีประจุไฟฟ้า
      • หลักการของระบบไฟฟ้าของอาคารและสถานีประจุไฟฟ้า
      • การสำรวจและออกแบบระบบไฟฟ้าสำหรับสถานีประจุไฟฟ้า
      • การคำนวณและคัดเลือกอุปกรณ์ การติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า เทคนิคการติดตั้งระบบไฟฟ้า การเดินสาย/การต่อสายดิน การตรวจสอบและทดสอบระบบไฟฟ้า
      • Workshop I: ตัวอย่างการคำนวณ เลือกอุปกรณ์ และการติดตั้งระบบไฟฟ้า
      • Workshop II: การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าและระบบสายดินเข้ากับสถานีประจุไฟฟ้า
      • Workshop III: การตรวจสอบระบบเบื้องต้น
      • Workshop IV: Commissioning วิเคราะห์ และประเมินผลจากเครื่องมือวัด

หมายเหตุ: กำหนดการและสถานที่อบรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยยังคงเนื้อหา และสาระสำคัญของการอบรมไว้

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผู้เชี่ยวชาญด้านสถานีประจุไฟฟ้า

วันที่ฝึกอบรม

ระยะเวลารวม 2 วัน
ระหว่างวันที่ 26 – 27 กันยายน 2565
“ผู้เข้าอบรมต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
Covid-19 ตามมาตรการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
พร้อมผลตรวจ ATK ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม”

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 9,630 บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
พิเศษ! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
รับส่วนลด 10% เหลือเพียงท่านละ 8,667 บาท

หมายเหตุ

  • กรุณาชำระเงิน ภายในวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565
  • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
  • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังและเข้าร่วมอบรมสัมมนาโดยไม่ถือเป็นวันลา
  • หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน กรณีการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิด เป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
  • ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการบรรยายตามความเหมาะสม
  • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดฝึกอบรม

โรงเรียนช่างฝีมือทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
เลขที่ 3/1 ซอยพหลโยธิน 30 แขวงจันทรเกษม
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81898 (คุณฉวีวรรณ)
          0 2644 8150 ต่อ 81891 (คุณนิพัฒน์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400