Select Page

ขณะนี้สถาบันฯ ได้เปิดให้บริการเว็บไซต์ Online Learning ใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สามารถสมัครสมาชิกและเข้าเรียนได้ที่ https://elearn.career4future.com

จริยธรรมการวิจัย
(Research Integrity)

ระยะเวลา • 11 นาที

หลักสูตร “จริยธรรมการวิจัย (Research Integrity)” รวบรวมสรุปเนื้อหาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัย (Research misconduct) ได้แก่ Fabrication : การสร้างข้อมูลเท็จหรือการปั้นแต่งข้อมูลวิจัย Falsification : การปลอมแปลงข้อมูลหรือผลการวิจัย Plagiarism : การคัดลอกงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ วรรณกรรม หรือข้อเสนอโครงการ ของผู้อื่น โดยไม่อ้างถึงแหล่งข้อมูลพร้อมทั้งยกตัวอย่างการกระทำที่เข้าข่ายพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัยในแบบต่างๆ รวมไปถึงแนะนำโปรแกรมตรวจสอบความคล้ายของผลงานทางวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งประโยชน์และความสำคัญของการอ้างอิงข้อมูล เพื่อให้นักวิจัยอาวุโส นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ผู้ช่วยวิจัย ของ สวทช. และบุคคลภายนอก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในจริยธรรมการวิจัย เพื่อเป็นแบบอย่างในการทำงานที่มีคุณภาพและสามารถตรวจสอบได้

จริยธรรมการวิจัย 02
(Research Integrity 02)

ระยะเวลา • 10 นาที

หลักสูตร “จริยธรรมการวิจัย 02 (Research Integrity 02)” รวบรวมเนื้อหาและตัวอย่างกระทำที่ถือว่าเข้าข่ายการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย รวมไปถึงวิธีการป้องกัน นโยบาย และช่องทางการร้องเรียน เมื่อมีข้อสงสัยหรือพบเห็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัยเกิดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากร สวทช. กลุ่มวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม บุคลากรกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย นักศึกษา และบุคคลภายนอก ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย และไม่ประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยให้ถูกต้อง สอดคล้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยหวังว่า งานวิจัยที่แล้วเสร็จ จะมีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับ และสามารถทำซ้ำได้

มาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย
(RESEARCH INTEGRITY)

ระยะเวลา • 61 นาที

หลักสูตร “มาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย (RESEARCH INTEGRITY)” รวบรวมองค์ความรู้ด้านมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยให้แก่ นักวิจัย ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการ บัณฑิตศึกษา และผู้ที่สนใจ เพื่อรับรู้และเข้าใจหลักการ หรือแนวทางปฏิบัติการวิจัยที่ดี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและจริยธรรม สร้างความรับผิดชอบในการวิจัย ทั้งต่อตนเอง องค์กร และสังคม สามารถหลีกเลี่ยงการกระทำหรือพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงเข้าข่ายการประพฤติมิชอบทางการวิจัยได้ รวมทั้งรับรู้แนวทางการจัดการและแก้ไขเบื้องต้น เมื่อพบเจอพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัย เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ และเกิดการพัฒนาและยกระดับงานวิจัยของประเทศให้มีคุณภาพและเป็นที่เชื่อถือต่อไป

จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์
(ARTIFICIAL INTELLIGENCE ETHICS)

ระยะเวลา • 56 นาที

หลักสูตร “จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ (ARTIFICIAL INTELLIGENCE ETHICS)” รวบรวมความรู้เกี่ยวกับหลักการด้านจริยธรรม กฎหมาย ข้อปฏิบัติที่ควรคำนึงถึง ตลอดจนตัวอย่างกรณีศึกษาและประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการวิจัย นิสิต นักศึกษาที่ดำเนินงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ มีความตระหนักรู้ในการทำวิจัยอย่างมีจริยธรรม และนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ในทางที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดกฎหมายและจริยธรรมขั้นพื้นฐาน โดยทั้งที่ตั้งใจและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนี้ การสร้างองค์ความรู้และความตระหนักด้านจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ ถือเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในการป้องกันและลดผลกระทบ ความเสียหาย หรือภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากพลังอำนาจของปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

การมีชื่อในเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ
(Authorship)

ระยะเวลา • 16 นาที

หลักสูตร “การมีชื่อในเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ” ได้รวบรวมสรุปเนื้อหาที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การมีชื่อในเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ หน้าที่และความรับผิดชอบ และแนวทางการปฏิบัติกรณีเกิดข้อพิพาทและข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการมีชื่อในผลงาน เพื่อให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ และป้องกันข้อร้องเรียนด้านการประพฤติมิชอบในการวิจัย

การบันทึกข้อมูลงานวิจัย
(Research Record Keeping)

ระยะเวลา • 3 นาที

การบันทึกข้อมูลงานวิจัย เป็นการรักษามาตรฐานในการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ หลักสูตร “การบันทึกข้อมูลงานวิจัย” ได้รวบรวมสรุปเนื้อหาที่เกี่ยวกับหลักการบันทึกข้อมูลงานวิจัยที่ดี และประโยชน์ของการบันทึกงานวิจัย เพื่อให้ผู้เรียน มีความเข้าใจ ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินงานวิจัย เพื่อเป็นแบบอย่างการทำงานที่มีคุณภาพและสามารถตรวจสอบได้

เปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่ ที่ทุกๆ องค์กรต้องการตัว
เข้ามาเรียนรู้กับ Career 4 Future e-Learning

ติดต่อเรา

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต (Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)
อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ชั้น 6
73/1 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0 2644 8150 โทรสาร 0 2644 8110
elearn@nstda.or.th