Select Page

หลักสูตร "ระบบขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า" รุ่นที่ 4

 (Electric Vehicles Drive System: EVD4)

 

Key Highlights

 

    • รู้และเข้าใจความต้องการทางเทคนิคและการออกแบบระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า
    • เห็นตัวอย่างการใช้งานและการออกแบบระบบขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้าแบบต่างๆ
    • ฝึกคำนวณเพื่อการออกแบบขนาดของระบบขับเคลื่อนที่เหมาะสมสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

หลักการและเหตุผล

          ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) คือยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมอเตอร์ที่ใช้สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานขับเคลื่อนทางกลโดยใช้กลไกของแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถสร้างออกมาได้หลากหลายรูปแบบตามชนิดของกระแสไฟฟ้าที่จ่ายและโครงสร้างการส่งกำลัง ปัจจุบันระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้ามีการผลิตใช้งานเองในประเทศไทยในปริมาณที่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้องค์ความรู้ในการออกแบบและเลือกใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าในยานยนต์ไฟฟ้าก็ยังไม่แพร่หลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการออกแบบและพัฒนาระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงได้พัฒนาหลักสูตร “ระบบขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า” (Electric Vehicles Drive System: EVD) ขึ้น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยพัฒนาบุคลากรและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าและระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงอุตสาหกรรมการประกอบและยานยนต์ไฟฟ้า

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า ครอบคลุมทั้งด้านเทคโนโลยี ความต้องการด้านเทคนิค การออกแบบระบบขับเคลื่อนที่เหมาะสมสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภท และการวิเคราะห์ทดสอบ
    2. เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าและระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าและระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า และคุณลักษณะของระบบขับเคลื่อนชนิดต่างๆ
  2. ได้เรียนรู้ถึงความต้องการทางเทคนิคของระบบขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า การออกแบบระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ และการทดสอบสมรรถนะของระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า
  3. สามารถคำนวณเพื่อออกแบบขนาดของระบบขับเคลื่อนที่เหมาะสมสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภทได้
  4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบขับเคลื่อนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า หรือต่อยอดการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าได้ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการเลือกใช้ระบบขับเคลื่อนที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบสร้างยานยนต์ไฟฟ้าได้

กลุ่มเป้าหมาย

  • วิศวกรหรือช่างเทคนิค ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนา การผลิต การทดสอบ มอเตอร์ไฟฟ้า
  • วิศวกรหรือช่างเทคนิค ที่ต้องการผลิตมอเตอร์ขับเคลื่อนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
  • บุคลากรในอุตสาหกรรมผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า และยานยนต์ไฟฟ้า
  • นักประดิษฐ์หรือผู้ที่สนใจเทคโนโลยีมอเตอร์ขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า ครอบคลุมทั้งด้านเทคโนโลยี ความต้องการด้านเทคนิค การออกแบบระบบขับเคลื่อนที่เหมาะสมสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภท และการวิเคราะห์ทดสอบ ประกอบด้วย การบรรยาย การฝึกคำนวณเพื่อการออกแบบขนาดของระบบขับเคลื่อนที่เหมาะสมสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และวิธีการทดสอบสมรรถนะระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า รวมจำนวน 12 ชั่วโมง/2 วันทำการ ดังนี้​

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย และกรณีศึกษา 6 1
ฝึกปฏิบัติคำนวณออกแบบ 6
1
รวม
12
2 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

    1. ความต้องการทางเทคนิค (Technical Requirement) ของระบบขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า (รถจักรยานไฟฟ้า รถมอเตอร์ไซต์ รถขนาดเล็ก รถสี่ล้อ รถโดยสารไฟฟ้าขนาดใหญ่)
    2. เทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
    3. ตัวอย่างการใช้งานและการออกแบบระบบขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้าแบบต่างๆ
    4. การคำนวณเพื่อการออกแบบขนาดของระบบขับเคลื่อนที่เหมาะสมสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
    5. วิธีการทดสอบสมรรถนะระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า

วันที่ฝึกอบรม

ระยะเวลา 2 วัน
ระหว่างวันที่ 20 – 21 กรกฎาคม 2565

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 13,910 บาท​ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
**พิเศษ!!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไปรับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียงท่านละ 12,519 บาท

หมายเหตุ

  • กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 7 มีนาคม 2565
  • ผู้เข้าร่วมอบรมต้องส่งหลักฐานแสดงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค Covid-19 ครบ 2 เข็มแล้ว พร้อมผลการตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม
  • เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
  • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
  • หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายอักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าวทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
  • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดฝึกอบรม

โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

วิทยากรประจำหลักสูตร

ศ.ดร. นิสัย เฟื่องเวโรจน์กุล
บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย – เยอรมัน

CONTACT

PHONE & E-MAIL

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81895 (คุณบรรยงก์)
เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 08 1825 5143
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81894 (คุณนพมล)
เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 08 5324 2684
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page