Select Page

หลักสูตรความรู้เพื่อให้บริการสถานี
ประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า รุ่นที่ 7

 (Fundamental of EV Charging Station Technology: FEC7)

Key Highlights

    • เรียนรู้พื้นฐานเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและสถานีประจุไฟฟ้า
    • รับฟังเสวนาหัวข้อ “โอกาสทางธุรกิจและการเตรียมตัวในการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า
    • สัมผัสและเก็บเกี่ยว Best Practices ของการติดตั้ง Charging Station อย่างใกล้ชิด
    • แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญของประเทศไทย

หลักการและเหตุผล

          ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นยานยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาด ไม่ปล่อยมลพิษหรือไอเสียสู่สิ่งแวดล้อม และยังเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่สามารถรองรับภาวะการขาดแคลนน้ำมันในอนาคต จึงทำให้ยานยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมใช้งานในหลายประเทศ และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมในการรองรับการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ทั้งด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน และการส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลาย ทั้งนี้รัฐบาลมีแผนที่จะส่งเสริมให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศให้เพิ่มมากขึ้นถึงหลักล้านในระยะเวลาประมาณ 10 ปี ต่อจากนี้ไป

 

          ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าต่อผู้ซื้อ คือการมีสถานีประจุไฟฟ้า (Charging Station) อย่างเพียงพอ สำหรับใช้เติมพลังงานให้กับยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้มีหลายหน่วยงานได้ให้ความสนใจ เริ่มติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าตามสถานที่ต่างๆ บ้างแล้ว เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม หมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม และที่อื่นๆ เพราะนอกจากจะเป็นการทำ CSR ลดโลกร้อนแล้ว ยังช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจจากการให้บริการเพิ่มเติมกับผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการอัดประจุไฟฟ้าให้กับรถระหว่างทำกิจกรรมที่สถานที่นั้น และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับบ้านและคอนโดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐตามแนวนโยบายของรัฐบาลอีก เช่น การขอรับงบสนับสนุนการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าจาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ร่วมกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ผ่าน “โครงการสนับสนุนการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station)” เป็นต้น

 

          สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคตได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวของสถานีประจุไฟฟ้า จึงได้ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ฝ่ายกิจการพิเศษ (ยานยนต์ไฟฟ้า) และโปรแกรมอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดทำหลักสูตรความรู้เพื่อให้บริการสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (Fundamental of EV Charging Station Technology: FEC) ขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า และการประจุไฟฟ้า รวมถึงกฎหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า และเปิดมุมมองโอกาสทางธุรกิจจากการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่สนใจติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าและส่งเสริมให้เกิดการติดตั้งและใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า และการประจุไฟฟ้า กฎหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และโอกาสทางธุรกิจจากการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
    2. เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่สนใจติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าและส่งเสริมให้เกิดการติดตั้งและใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัย
    3. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และโอกาสทางการตลาดจากการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าตามสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล หมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม สถานที่ทำงาน สถานที่สาธารณะ หน่วยงานราชการ เป็นต้น

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า และการประจุไฟฟ้า รวมถึงกฎหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า เพื่อให้ติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
  2. ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญการติดตั้งและผู้ประกอบการที่ติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าแล้วเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจและการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า การลงทุน ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข และข้อควรระวังต่างๆ
  3. เห็นโอกาสทางธุรกิจจากการให้บริการประจุไฟฟ้า
  4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการตัดสินใจลงทุนติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าได้

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้ที่สนใจติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า
  2. ผู้จัดการ/เจ้าของอาคารสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสาธารณะ หมู่บ้านจัดสรร โรงแรม โรงพยาบาล หน่วยงานรัฐ ฯลฯ
  3. บุคคลทั่วไปที่สนใจ

 

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า และการประจุไฟฟ้า กฎหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และโอกาสทางธุรกิจจากการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่สนใจติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าอย่างถูกต้องและปลอดภัย ประกอบด้วยการบรรยาย การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Best Practices) และการศึกษาดูงาน รวม 18 ชั่วโมง/3 วันทำการ ดังนี้

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย เสวนา และกรณีศึกษา 12 2.0
ศึกษาดูงาน 6
1.0
รวม 18
3 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

      • ความรู้พื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้า และการประจุไฟฟ้า
      • มาตรฐาน และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการประจุไฟฟ้า การติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า และยานยนต์ไฟฟ้า
      • การออกแบบสถานีประจุไฟฟ้า และการลงทุนติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า
      • การทดสอบสถานีประจุไฟฟ้า
      • นโยบายส่งเสริมสถานีประจุไฟฟ้าของภาครัฐ
      • เสวนา แนวทางการขออนุญาตติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า และนโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
      • รูปแบบสนับสนุนการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าจากสถาบันการเงิน
      • เสวนาหัวข้อ “โอกาสทางธุรกิจและการเตรียมตัวในการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า”
      • ศึกษาดูงานการออกแบบ และผลิตสถานีประจุไฟฟ้า และศึกษาดูงานการให้บริการสถานีประจุไฟฟ้า

หมายเหตุ: กำหนดการและสถานที่ดูงานอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยยังคงเนื้อหา และสาระสำคัญของการอบรมไว้

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผู้เชี่ยวชาญด้านสถานีประจุไฟฟ้า

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระยะเวลา 3 วัน
ระหว่างวันที่ 21 – 23 มีนาคม 2565

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 13,910 บาท​ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
**พิเศษ!!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไปรับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียงท่านละ 12,519 บาท

หมายเหตุ

  • กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 7 มีนาคม 2565
  • ผู้เข้าร่วมอบรมต้องส่งหลักฐานแสดงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค Covid-19 ครบ 2 เข็มแล้ว พร้อมผลการตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม
  • เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
  • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
  • หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายอักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าวทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
  • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดฝึกอบรม

โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส
เลขที่ 444 ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ถนนพญาไท
แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81895 (คุณบรรยงก์)
          0 2644 8150 ต่อ 81894 (คุณนพมล)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400