หลักสูตรการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกระดับผู้บริหาร
รุ่นที่ 2
(Greenhouse Gas Management for Executives: GMX)
Key Highlights
-
- เข้าใจมาตรฐาน ข้อกำหนด และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อตอบสนองเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ
- เรียนรู้การประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อวางแผนและบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างมืออาชีพ
- ได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ Key Man สำคัญ ด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
- ได้รับการเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายผู้บริหารด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ในการพัฒนาเทคโนโลยีและผลักดันการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศอย่างยั่งยืน
- เข้าใจมาตรฐาน ข้อกำหนด และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อตอบสนองเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ
หลักการและเหตุผล
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ได้สร้างความเสียหายและเห็นผลกระทบชัดเจนขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นความสำคัญของการลดภาวะโลกร้อนมากขึ้น โดยในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 หรือ COP28 ใน ค.ศ. 2023 ที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นเร่งการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานทดแทน และเพิ่มสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานทดแทนเป็น 3 เท่าภายในปี ค.ศ. 2030 ทั้งนี้ ผลลัพธ์จาก COP28 ได้สร้างแรงกดดันต่อการดำเนินงานของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล การทบทวนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับทิศทางของโลก ตลอดจนการเตรียมพร้อมด้านการปรับตัว ซึ่งทั้งหมดล้วนสร้างความท้าทายแก่ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนสูง
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและผลักดันให้องค์กรหรือประเทศให้สามารถลดก๊าซเรือนได้สอดคล้องกับเป้าหมายของข้อตกลงปารีส และเพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านการประเมินก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกให้กับผู้บริหารขององค์กร ผู้กำหนดนโยบายขององค์กรหรือประเทศ รวมถึงวิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับสูงขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เข้าใจ เล็งเห็นถึงสำคัญ และเกิดการผลักดันในการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาหลักสูตร “การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกระดับผู้บริหาร (Greenhouse Gas Management for Executives: GMX)” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายขององค์กรหรือประเทศ วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับสูงขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของเทคโนโลยีที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และสามารถวางแผนหรือกำหนดนโยบาย สนับสนุนบุคลากร และงบประมาณในการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อตอบสนองเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผู้บริหารจากภาครัฐและเอกชนยังสามารถจับมือร่วมกับเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของเทคโนโลยีที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีและผลักดันให้องค์กรลดก๊าซเรือนกระจกผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนในอนาคต
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายขององค์กรหรือประเทศ วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถวางแผนหรือนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อตอบสนองเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ
- เพื่อให้ผู้บริหารสามารถวางแผนกลยุทธ์เพิ่มศักยภาพขององค์กร เจาะกลุ่มตลาดใหม่ที่ให้ความสนใจในธุรกิจคาร์บอนต่ำ
- เพื่อให้เกิดการพบปะกันระหว่างเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของเทคโนโลยีที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้กับผู้ประกอบการที่ต้องการเทคโนโลยีลดก๊าซเรือนกระจกในการต่อยอดคู่ค้าธุรกิจร่วมกัน
- เพื่อสร้างเครือข่ายผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
- เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายขององค์กรหรือประเทศ วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถวางแผนหรือนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อตอบสนองเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
- สามารถวางแผนกลยุทธ์และนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้ตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ
- เกิดการต่อยอดคู่ค้าธุรกิจคาร์บอนต่ำ และกลุ่มตลาดใหม่ที่สนใจเทคโนโลยีลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น
- สร้างเครือข่ายในการพัฒนาเทคโนโลยีและผลักดันให้องค์กรลดก๊าซเรือนกระจกสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ของประเทศได้อย่างยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้บริหารหรือผู้กำหนดนโยบายขององค์กรหรือประเทศ
- ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
- ผู้บริหารจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับเทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
- วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมระดับสูงขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
- เจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของเทคโนโลยีที่ให้ความสำคัญด้านการลดก๊าซเรือนกระจก
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในมาตรฐาน ข้อกำหนด และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก นำไปสู่การบูรณาการองค์ความรู้และประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยการบรรยาย กรณีศึกษา และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
หัวข้อ | ชั่วโมง |
การบรรยายและกรณีศึกษา | 19 |
กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ | 3 |
ฝึกปฏิบัติการ (Workshop) |
6 |
รวม | 28 |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- ที่มาและความสำคัญของการจัดการก๊าซเรือนกระจก
- นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
- Carbon Knowledge Management
- การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA)
- การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products: CFP)
- มาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) และการเตรียมความพร้อมสินค้าส่งออกสหภาพยุโรป
- การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO)
- การตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก (Science-based Targets, Carbon Neutrality, Net Zero Emissions)
- การเสวนา หัวข้อ “การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่ Net Zero“
- กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
- Group Workshop: Project Development towards Net Zero Emissions
- ที่มาและความสำคัญของการจัดการก๊าซเรือนกระจก
-
หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยยังคงเนื้อหาและสาระสำคัญของการอบรมไว้
วิทยากรประจำหลักสูตร
ผู้แทนจากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รศ.ดร.หาญพล พึ่งรัศมี
หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (CEEE TU)
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.ไพรัช อุศุภรัตน์
รองหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (CEEE TU)
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.วัลลภ ใหญ่ยิ่ง
ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
บริษัท เอชอาร์ ดีไอ จำกัด
คุณมนต์ชัย จิตติปัญญากุล
กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีซีอีอี จำกัด
ผู้เชี่ยวชาญ LCA/CFO/CFP
คุณณิชา สุโขดมโชติ
รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อีซีอีอี จำกัด
ผู้เชี่ยวชาญ LCA/CFO/CFP
คุณจิรวัตร จิรจริยาเวช
ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ บริษัท อีซีอีอี จำกัด
ผู้เชี่ยวชาญ LCA/CFO/CFP
ระยะเวลาของหลักสูตร
รวมระยะเวลาอบรม จำนวน 5 วัน
- วันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2568
โรงแรมกาลนาน ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท จังหวัดนนทบุรี - วันที่ 5 และ 12 – 13 มิถุนายน 2568
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 36,900 บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
โปรโมชั่นพิเศษ!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป รับส่วนลด
ทันที 10% เหลือชำระเพียงท่านละ 33,210 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
หมายเหตุ
-
- เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจและไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างน้อย 7 วันทำการ ก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
สถานที่จัดฝึกอบรม
- โรงแรมกาลนาน ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท
เลขที่ 17/55 ซอยสุขาประชาสรรค์ 2
ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 - โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียน 100% และทำกิจกรรม
ทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81892 (คุณเมธภัค)
มือถือ : 08 5211 9709
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81904 (คุณสุรีย์)
มือถือ : 08 4051 3564
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS