หลักสูตรการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกระดับผู้บริหาร
ภายใต้ “โครงการพัฒนากำลังคนสำหรับระบบการทวนสอบก๊าซเรือนกระจก
ในประเทศและระดับสากล เพื่อตอบสนองเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ ปีงบประมาณ 2566”
หลักการและเหตุผล
จากเป้าหมายหลักตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP21 ใน ค.ศ. 2015 ที่มุ่งเน้นการรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เทียบกับระดับในช่วงก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกให้น้อยลงไปอีกจนถึงต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้ประเด็นการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนจากนานาประเทศให้ความสำคัญ จวบจนปัจจุบันในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 ใน ค.ศ. 2020 ประเทศไทยเองได้ประกาศเป้าหมายสำคัญว่าจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero GHG Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่จะต้องหันมาให้ความใส่ใจกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อดำเนินการตามแนวทางของประเทศ
ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็นหลักการตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Science-based Target หรือ SBT) การตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร ที่เรียกว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) การตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP) การพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละเครื่องมือมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน และบางเครื่องมืออาจมีส่วนที่คล้ายคลึงกัน ทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาจจะยังไม่สามารถใช้เครื่องมือแบบบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม หรือ บพค. ได้ตะหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้สนับสนุนการจัดทำโครงการพัฒนากำลังคนสำหรับระบบการทวนสอบก๊าซเรือนกระจกในประเทศและระดับสากลเพื่อตอบสนองเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ ปีงบประมาณ 2566 เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านการประเมินการรายงานก๊าซเรือนกระจก ทักษะด้านการทวนสอบก๊าซเรือนกระจกให้มีคุณสมบัติพร้อมเป็นผู้ทวนสอบได้ และเพื่อเพิ่มหน่วยงานในประเทศไทยให้สามารถรับรองระบบเพื่อรับรองการรายงานก๊าซเรือนกระจกที่เป็นมาตรฐานสากล หรือ เทียบเท่าได้
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบุคลากรด้านการประเมินก๊าซเรือนกระจกจะไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ หากขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจระดับสูง ดังนั้น จึงมีการจัดอบรมหลักสูตรความรู้ระดับผู้บริหารในการจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายขององค์กรหรือประเทศ วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับสูงขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของเทคโนโลยีที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และสามารถสนับสนุนบุคลากรหรืองบประมาณให้กับการดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจกได้ นอกจากนี้ ผู้บริหารจากภาครัฐและเอกชนยังสามารถจับมือร่วมกับเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของเทคโนโลยีที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีและผลักดันให้องค์กรลดก๊าซเรือนกระจกผ่านเทคโนโลยีนั้น ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งภายใต้โครงการฯ ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรนี้ขึ้น และให้สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินการจัดอบรมหลักสูตรความรู้เบื้องต้นในการบริหารจัดการ
ก๊าซเรือนกระจก
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายขององค์กรหรือประเทศ วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับสูงขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถวางแผนหรือนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อตอบสนองเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ
- เพื่อให้ผู้บริหารสามารถวางแผนกลยุทธ์เพิ่มศักยภาพขององค์กร เจาะกลุ่มตลาดใหม่ที่ให้ความสนใจในธุรกิจคาร์บอนต่ำ
- เพื่อให้เกิดการพบปะกันระหว่างเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของเทคโนโลยีที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้กับผู้ประกอบการที่ต้องการเทคโนโลยีลดก๊าซเรือนกระจกในการต่อยอดคู่ค้าธุรกิจร่วมกัน
- เพื่อสร้างเครือข่ายผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
- เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายขององค์กรหรือประเทศ วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับสูงขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถวางแผนหรือนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อตอบสนองเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
- สามารถวางแผนกลยุทธ์และนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ได้ตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ
- เกิดการต่อยอดคู่ค้าธุรกิจคาร์บอนต่ำ และกลุ่มตลาดใหม่ที่สนใจเทคโนโลยีลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น
- สร้างเครือข่ายในการพัฒนาเทคโนโลยีและผลักดันให้องค์กรลดก๊าซเรือนกระจกสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ของประเทศได้อย่างยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้บริหารหรือผู้กำหนดนโยบายขององค์กรหรือประเทศ
- ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
- ผู้บริหารจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับเทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
- วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับสูงขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
- เจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของเทคโนโลยีที่ให้ความสำคัญด้านการลดก๊าซเรือนกระจก

โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในมาตรฐาน ข้อกำหนด และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก นำไปสู่การบูรณาการองค์ความรู้และประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยการบรรยาย กรณีศึกษา และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
หัวข้อ | ชั่วโมง |
การบรรยายและกรณีศึกษา | 7.0 |
กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ | 4.0 |
ฝึกปฏิบัติการ (Workshop) |
4.5 |
รวม | 15.5 |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- ความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก
- นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยจากการประชุม COP28
- Carbon Knowledge Management
- การตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก
- กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
- Group Workshop
- ความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก
-
หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยยังคงเนื้อหาและสาระสำคัญของการอบรมไว้

ขั้นตอนการรับสมัคร
- เปิดรับสมัคร ระหว่างวันที่ 9 – 29 มกราคม 2567
- ผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลในใบสมัครให้ครบถ้วน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมอบรม โดยมีขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม ที่เว็บไซต์ https://www.career4future.com/gmx
ขั้นตอนที่ 2 ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำรับรองตนเอง และแบบฟอร์มหนังสืออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาให้เข้าร่วมอบรม ที่เว็บไซต์ https://www.career4future.com/gmx กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมแนบเอกสารดังกล่าว และประวัติย่อ (CV) ของผู้สมัคร เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือก ที่ Link https://shorturl.at/hlIPT
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมอบรม วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ทางเว็บไซต์ https://www.career4future.com/gmx และทาง Facebook – National GHG Capacity Building
- กรณีผู้ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมอบรม ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมอบรมได้ กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร ไปยังผู้จัดงาน อีเมล npd@nstda.or.th ภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อให้โอกาสผู้สนใจเข้าร่วมท่านอื่นต่อไป หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว สถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกค่าดำเนินการจากท่าน เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- ผู้บริหารส่วนราชการหรือองค์กรอื่นของรัฐ ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองผู้บริหารสูงสุดของส่วนราชการ หรือเทียบเท่า
- ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจนั้น
- ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั้น
- ผู้บริหารเอกชน ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองผู้บริหารสูงสุดขององค์กร
- ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่กำหนดนโยบายสำหรับการเปลี่ยนแปลงในองค์กร (กำหนดวิสัยทัศน์ระยะยาวหรือพันธกิจ)

วิทยากรประจำหลักสูตร





คุณนารีรัตน์ พันธุ์มณี
ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คุณศิวัช แก้วเจริญ
ผู้อำนวยการกลุ่มประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจก
กองขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รศ.ดร.หาญพล พึ่งรัศมี
หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (CEEE TU)
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.ไพรัช อุศุภรัตน์
รองหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (CEEE TU)
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.วัลลภ ใหญ่ยิ่ง
ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
บริษัท เอชอาร์ ดีไอ จำกัด
ระยะเวลาของหลักสูตร
รวมระยะเวลาอบรม จำนวน 3 วัน
- วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567
โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพ - วันที่ 15 – 16 กุมภาพันธ์ 2567
โรงแรมฮอลิเดย์อิน แอนด์ สวีทส์ ระยอง ซิตี้เซ็นเตอร์ จังหวัดระยอง


ค่าลงทะเบียน
***ไม่มีค่าใช้จ่าย***
สถานที่จัดฝึกอบรม
- โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ
เลขที่ 662 ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม
เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 - โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ แอนด์ สวีทส์ ระยอง ซิตี้เซ็นเตอร์
เลขที่ 554/5 ถนนสุขุมวิท ตำบลเนินพระ
อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21000


เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียน 100% และทำกิจกรรม
ทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
Download
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81892 (คุณเมธภัค)
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81904 (คุณสุรีย์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS