การอบรมหลักสูตร
“จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
(Human Research Ethics)”
อบรม Online ผ่านโปรแกรม |
Key Highlights
-
- ความเป็นมาและแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
- บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมวิจัย
- กระบวนการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำหรับโครงการวิจัย และการประเมินต่อเนื่อง
- แนวทางการวิจัยในอาสาสมัครกลุ่มเปราะบางและการวิจัยในเด็ก
- การขอความยินยอมที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
- หลักการประเมินความเสี่ยง ประโยชน์ และการรักษาความลับของอาสาสมัคร
- หน้าที่และรับผิดชอบของนักวิจัยเมื่อจะดำเนินการวิจัยในมนุษย์
- ประเด็นทางจริยธรรมการวิจัยด้านสังคมศาสตร์
- ตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นจริยธรรมวิจัยในมนุษย์
- ความเป็นมาและแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
หลักการและเหตุผล
การวิจัยในปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และดำเนินการทดสอบในมนุษย์ โดยในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องในมนุษย์นั้น ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ก่อนที่จะเริ่มต้นการวิจัย รวมทั้งปกป้องสวัสดิภาพ (welfare) สิทธิ (rights) และความเป็นส่วนตัว (privacy) ของผู้เข้าร่วมวิจัยและชุมชนที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาผลประโยชน์และความจำเป็นของผู้วิจัย ตลอดจนดูแลให้เป็นไปตามข้อกำหนดขององค์กรที่มีหน้าที่ควบคุมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้วิจัยควรตระหนักและมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานวิจัย โดยยึดหลักความถูกต้องตามหลักวิชาการ ความปลอดภัย และจริยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้งานวิจัยเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจจากสาธารณชน ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการจัดการอบรม เรื่อง “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)” ในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้และคำแนะนำที่ได้ไปปรับใช้กับงานวิจัยของตนต่อไป
วัตถุประสงค์
-
- เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เกี่ยวกับหลักจริยธรรมพื้นฐาน และการทบทวนพิจารณาโครงการวิจัย ให้แก่นักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อให้ทราบถึงวิธีปฏิบัติในการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อขอรับการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ รวมไปถึงบทบาทหน้าที่ของนักวิจัยและการดำเนินการหลังได้รับการรับรองด้านจริยธรรมการวิจัย
กล่าวเปิดงานโดย
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ที่ปรึกษาอาวุโสผู้อำนวยการ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ
ประธานคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนจริยธรรม
การวิจัยในมนุษย์ ของ สวทช.
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.อ.รศ.นพ.สุธี พานิชกุล
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
พ.อ.รศ.นพ.ชาญชัย ไตรวารี
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
พ.อ.ผศ.นพ.นิธิพันธ์ สุขสุเมฆ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
พ.ท.รศ.นพ.ปิยะ รุจกิจยานนท์
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ดร.อโณทัย โภคาธิกรณ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รศ.ดร.ประทุม สร้อยวงค์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผศ.ดร.จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รูปแบบการจัดอบรม
ถ่ายทอดสด ในระบบ Online ผ่านโปรแกรม Cisco Webex
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 3 – 4 กุมภาพันธ์ 2565
เวลา 08.30 – 16.45 น.
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 1,600 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
หมายเหตุ
-
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังและเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรม ต้องเข้าร่วมการอบรม ไม่ต่ำกว่า 100%
จึงจะได้รับใบประกาศนียบัตร จากชมรมจริยธรรม
การวิจัยในคนในประเทศไทย (FERCIT) และ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
Download
CONTACT
PHONE & E-MAIL
ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย
(The Office of Research Integrity, ORI)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2564 7000 ต่อ 71843 (คุณรุจิกร)
0 2564 7000 ต่อ 71844 (คุณณัฐพัชร์)
E-MAIL : ORI@nstda.or.th
ADDRESS