หลักสูตร IoT สำหรับนักพัฒนา รุ่นที่ 2
(Internet of Things for Developer)
หลักการและเหตุผล
Internet of Things หรือ IoT ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในหลายๆประเทศรวมถึงหลายบริษัทชั้นนำของโลก เห็นได้ชัดจากการเปลี่ยนแปลงของอุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งถูกพัฒนาให้มีความชาญฉลาดมากและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างอิสระมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่อิทธิพลของ IoT นั้นมีผลต่อทุกๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการขนส่ง อุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันว่า IoT ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวเราอีกต่อไป การปรับตัวและการประยุกต์ใช้ IoT ในปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในเชิงธุรกิจ การรู้จัก เรียนรู้ และการประยุกต์ใช้งาน IoT จึงกลายเป็นข้อได้เปรียบของธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด
องค์ประกอบของ IoT จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนของอุปกรณ์ ส่วนของเครือข่าย การสื่อสาร และส่วนการประมวลผล ผู้พัฒนาระบบ IoT จำเป็นที่จะต้องมีส่วนในการพัฒนาอุปกรณ์โดยเฉพาะส่วนซอฟต์แวร์ ให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ผ่านทางเครือข่ายการสื่อสาร แต่สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลยคือเรื่องของการประมวลผลข้อมูลที่รับจากอุปกรณ์ การประมวลผลจึงเหมือนเป็นหัวใจหลักในระบบ IoT ในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ นั่นเอง
หลักสูตร IoT สำหรับนักพัฒนานี้จะนำเสนอแนวคิดการต่อยอดการประยุกต์ใช้งาน IoT ในแง่มุมต่างๆ ทั้งในส่วนของอุปกรณ์และการประมวลผลข้อมูล ซึ่งภายในหลักสูตรจะมีการลงมือปฎิบัติการใช้งาน Platform สำหรับระบบงาน IoT ในการสาธิตการประยุกต์ใช้งาน IoT ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และรายได้ใหม่ๆ ในธุรกิจ รวมถึงการลดต้นทุนและสร้างข้อได้เปรียบด้านต่างๆ โดยยกตัวอย่างจากอุตสาหกรรมหรือธุรกิจบริการรถโดยสารสาธารณะ ร้านอาหารและบริการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ IoT ในธุรกิจต่างๆ ตลอดจนสามารถต่อยอดงานธุรกิจและอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคตได้
วัตถุประสงค์
-
- เพื่อต่อยอดแนวคิดการประยุกต์ใช้ IoT ของผู้เข้าร่วมอบรม
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และรายได้ใหม่ๆ ต่อธุรกิจได้ ตลอดจนสามารถลดต้นทุนและสร้างข้อได้เปรียบในเชิงธุรกิจได้
- เพื่อต่อยอดแนวคิดการประยุกต์ใช้ IoT ของผู้เข้าร่วมอบรม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา
- เรียนรู้และฝึกฝนการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับสถาปัตยกรรม IoT แบบต่างๆ
- เรียนรู้และฝึกฝนการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับบอร์ด Raspberry Pi ด้วยภาษา Python
- ฝึกการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาษา HTML, PHP, SQL, R
- ฝึกการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์ม Bluemix
กลุ่มเป้าหมาย
- นักลงทุน/ผู้ประกอบการ ที่สนใจและมีวิสัยทัศน์ด้านการประยุกต์ใช้ IoT ในการสร้างสรรค์ผลงานหรือผลิตภัณฑ์ใหม่
- นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ที่จะนำ IoT ไปต่อยอด
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านการพัฒนาระบบ IoT ตลอดจนการประยุกต์ใช้งาน IoT ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจต่างๆ
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- สถาปัตยกรรม Internet of Things
- เครื่องมือในการพัฒนา Internet of Things
- การเชื่อมต่อฐานข้อมูลระบบ Internet of Things
- การเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์สมองกลฝังตัว
- การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นด้วย Google App Engine
- การออกแบบสถาปัตยกรรม Internet of Things
- การสร้างโมไบล์เทอร์มินัล
- การใช้ API ภายนอกกับระบบ Internet of Things
- การเข้าถึงทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet of Things ในธุรกิจ
- การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับ Internet of Things
- เครื่องมือสำหรับการใช้งาน Internet of Things
- แนะนำ Bluemix เบื้องต้น
- Study Case : การตรวจสอบอาหารย้อนกลับด้วย QR Code
- Study Case : การวิเคราะห์วัตถุดิบสำหรับร้านอาหาร
- การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค
- Study Case : การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคจากระยะเวลาที่ใช้บริการ
- Study Case : การให้คำแนะนำรายการอาหารที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภค
- Study Case : Application สำหรับผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านอาหาร
- สถาปัตยกรรม Internet of Things
-
วิทยากรประจำหลักสูตร
ดร.วัชระ ฉัตรวิริยะ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผศ.ดร. ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 6 – 9 มิถุนายน 2560
ตลอดระยะเวลา 4 วัน ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี
และฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้น รวมจำนวนทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 24,900 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
โปรโมชั่นพิเศษ!! หากชำระเงินภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 รับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียง 22,410 บาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
หมายเหตุ
-
- กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 10 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
สถานที่จัดอบรม
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80%
และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพสำหรับการจัดฝึกอบรมและการศึกษา ISO 10015
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS