Select Page

หลักสูตร IoT สำหรับนักพัฒนา รุ่นที่ 2

(Internet of Things for Developer)

หลักการและเหตุผล

          Internet of Things หรือ IoT ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในหลายๆประเทศรวมถึงหลายบริษัทชั้นนำของโลก เห็นได้ชัดจากการเปลี่ยนแปลงของอุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งถูกพัฒนาให้มีความชาญฉลาดมากและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างอิสระมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่อิทธิพลของ IoT นั้นมีผลต่อทุกๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการขนส่ง อุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันว่า IoT ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวเราอีกต่อไป การปรับตัวและการประยุกต์ใช้ IoT ในปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในเชิงธุรกิจ การรู้จัก เรียนรู้ และการประยุกต์ใช้งาน IoT จึงกลายเป็นข้อได้เปรียบของธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด

 

          องค์ประกอบของ IoT จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนของอุปกรณ์ ส่วนของเครือข่าย การสื่อสาร และส่วนการประมวลผล ผู้พัฒนาระบบ IoT จำเป็นที่จะต้องมีส่วนในการพัฒนาอุปกรณ์โดยเฉพาะส่วนซอฟต์แวร์ ให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ผ่านทางเครือข่ายการสื่อสาร แต่สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลยคือเรื่องของการประมวลผลข้อมูลที่รับจากอุปกรณ์ การประมวลผลจึงเหมือนเป็นหัวใจหลักในระบบ IoT ในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ นั่นเอง

 

          หลักสูตร IoT สำหรับนักพัฒนานี้จะนำเสนอแนวคิดการต่อยอดการประยุกต์ใช้งาน IoT ในแง่มุมต่างๆ ทั้งในส่วนของอุปกรณ์และการประมวลผลข้อมูล ซึ่งภายในหลักสูตรจะมีการลงมือปฎิบัติการใช้งาน Platform สำหรับระบบงาน IoT ในการสาธิตการประยุกต์ใช้งาน IoT ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และรายได้ใหม่ๆ ในธุรกิจ รวมถึงการลดต้นทุนและสร้างข้อได้เปรียบด้านต่างๆ โดยยกตัวอย่างจากอุตสาหกรรมหรือธุรกิจบริการรถโดยสารสาธารณะ ร้านอาหารและบริการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ IoT ในธุรกิจต่างๆ ตลอดจนสามารถต่อยอดงานธุรกิจและอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคตได้

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อต่อยอดแนวคิดการประยุกต์ใช้ IoT ของผู้เข้าร่วมอบรม
    2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และรายได้ใหม่ๆ ต่อธุรกิจได้ ตลอดจนสามารถลดต้นทุนและสร้างข้อได้เปรียบในเชิงธุรกิจได้

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา

  1. เรียนรู้และฝึกฝนการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับสถาปัตยกรรม IoT แบบต่างๆ
  2. เรียนรู้และฝึกฝนการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับบอร์ด Raspberry Pi ด้วยภาษา Python
  3. ฝึกการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาษา HTML, PHP, SQL, R
  4. ฝึกการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์ม Bluemix

กลุ่มเป้าหมาย

  1. นักลงทุน/ผู้ประกอบการ ที่สนใจและมีวิสัยทัศน์ด้านการประยุกต์ใช้ IoT ในการสร้างสรรค์ผลงานหรือผลิตภัณฑ์ใหม่
  2. นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ที่จะนำ IoT ไปต่อยอด

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านการพัฒนาระบบ IoT ตลอดจนการประยุกต์ใช้งาน IoT ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจต่างๆ

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

      1. สถาปัตยกรรม Internet of Things
      2. เครื่องมือในการพัฒนา Internet of Things
      3. การเชื่อมต่อฐานข้อมูลระบบ Internet of Things
      4. การเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์สมองกลฝังตัว
      5. การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นด้วย Google App Engine
      6. การออกแบบสถาปัตยกรรม Internet of Things
      7. การสร้างโมไบล์เทอร์มินัล
      8. การใช้ API ภายนอกกับระบบ Internet of Things
      9. การเข้าถึงทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต
      10. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet of Things ในธุรกิจ
      11. การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับ Internet of Things
      12. เครื่องมือสำหรับการใช้งาน Internet of Things
      13. แนะนำ Bluemix เบื้องต้น
      14. Study Case : การตรวจสอบอาหารย้อนกลับด้วย QR Code
      15. Study Case : การวิเคราะห์วัตถุดิบสำหรับร้านอาหาร
      16. การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค
      17. Study Case : การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคจากระยะเวลาที่ใช้บริการ
      18. Study Case : การให้คำแนะนำรายการอาหารที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภค
      19. Study Case : Application สำหรับผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านอาหาร

วิทยากรประจำหลักสูตร

ดร.วัชระ ฉัตรวิริยะ

ดร.วัชระ ฉัตรวิริยะ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผศ.ดร. ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์

ผศ.ดร. ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์

อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระหว่างวันที่ 6 – 9 มิถุนายน 2560
ตลอดระยะเวลา 4 วัน ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี
และฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้น รวมจำนวนทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 24,900 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
โปรโมชั่นพิเศษ!! หากชำระเงินภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 รับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียง 22,410 บาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

หมายเหตุ

    • กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560
    • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
    • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
    • หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 10 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
    • ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดอบรม

โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

เกณฑ์การประเมินผล

ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80%
และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพสำหรับการจัดฝึกอบรมและการศึกษา ISO 10015​

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

You cannot copy content of this page