หลักสูตรฝึกอบรม
“รู้จริงทุกเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าใน 2 วัน” รุ่นที่ 8
(Mastering EV Technologies in 2 Days : MEV8)
Key Highlights
-
- เข้าใจเทคโนโลยีหลักทั้งหมด และแนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ๆ ของยานยนต์ไฟฟ้า
- ได้สัมผัสและเรียนรู้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าของจริง
- แลกเปลี่ยนประสบการณกับผู้เชี่ยวชาญในวงการยานยนต์ไฟฟ้า
- สามารถนำความรู้ไปใช้เพื่อการปรับตัวและเตรียมความพร้อมสู่การผลิตยานยนต์สมัยใหม่
หลักการและเหตุผล
อุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตจะมุ่งสู่กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดโลกร้อน ยานยนต์สมัยใหม่จึงเน้นการผลิตยานยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์กระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญของโลก และมีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้ ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่สำคัญ ดังนั้นผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนจึงจำเป็นต้องเร่งเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และปรับการผลิตเพื่อให้ทันกับความต้องการในอนาคต และเพื่อรักษาศักยภาพในการแข่งขันของไทยและคงความเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในภูมิภาคอาเซียนไว้
เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาหลักสูตร “รู้จริงทุกเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าใน 2 วัน (Mastering EV Technologies in 2 Days) ขึ้น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นเทคโนโลยีหลัก (Core Technologies) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน ได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนในภูมิภาค
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีหลักที่เกี่ยวข้องของยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนไทยในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม
- ได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีหลักของยานยนต์ไฟฟ้า และแนวโน้มของเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปรับตัวและปรับการผลิตแบบเดิมไปสู่การผลิตยานยนต์สมัยใหม่
- ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในแต่ละเทคโนโลยีหลัก
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน
- ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และซอฟแวร์
- ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น กฟผ. กฟน. กฟภ. หรือผู้ประกอบการผลิตโซลาร์เซลล์ หรืออื่นๆ
- ผู้ประกอบการ SMEs ที่เกี่ยวข้อง เช่น อู่ซ่อมและดัดแปลงรถ
- คณาจารย์และบุคคลที่สนใจ
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีหลัก (Core Technologies) ของยานยนต์ไฟฟ้า และการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าใหม่ๆ ในอนาคต ประกอบด้วยการบรรยาย และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Best Practices) กับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า รวม 13 ชั่วโมง/2 วันทำการ ดังนี้
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วัน) |
บรรยาย และกรณีศึกษา | 13 | 2 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
- ภาพรวมเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า
- มอเตอร์และระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า (Motor and Drive)
- แบตเตอรี่และระบบการจัดการพลังงานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
- ระบบประจุไฟฟ้าในยานยนต์ไฟฟ้า (Charging System)
- โครงสร้างน้ำหนักเบาและการประกอบ (Light Weight Technology & Integration Design)
- การออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า (Styling and Design)
- มาตรฐานและการทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า (Standard & Testing)
- เทคโนโลยียานยนต์อัจฉริยะไร้คนขับ (Autonomous Technology)
- การสาธิตเทคโนโลยีกับยานยนต์ไฟฟ้าของจริง
วิทยากรประจำหลักสูตร
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า
วันที่ฝึกอบรม
ระยะเวลา 2 วัน
ระหว่างวันที่ 4 – 5 เมษายน 2567
“ผู้เข้าอบรมต้องแสดงผลตรวจ ATK ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม”
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 9,900 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
*เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ
- กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 22 มีนาคม 2567
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังและเข้าร่วมอบรมสัมมนาโดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน กรณีการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิด เป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการบรรยายตามความเหมาะสม
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
สถานที่จัดฝึกอบรม
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
Download
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81898 (คุณฉวีวรรณ)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS