Select Page

หลักสูตรฝึกอบรม

 

เรียนรู้การขึ้นทะเบียนและการประเมิน
ความปลอดภัยสารใหม่ เพื่อใช้ในเครื่องสำอาง
ผ่านระบบ Personal Care Product Council

Key Highlights

    • รู้กฎหมายและข้อกำหนดด้านเครื่องสำอางฉบับ update
    • รู้เทคนิค วิธีการ ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนแนวทางแก้ไขในการดำเนินการขึ้นทะเบียนสารใหม่ เพื่อใช้ในทางเครื่องสำอาง
    • รู้การประเมินความปลอดภัยสารใหม่เพื่อใช้ในเครื่องสำอาง
    • สามารถเข้าใช้ระบบ “Personal Care Product Council” และใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น ได้ด้วยตัวเอง

หลักการและเหตุผล

        อุตสาหกรรมเครื่องสำอางเป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย อีกทั้งราคายังจับต้องได้ หาซื้อใช้สะดวก ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึงทุกเพศ ทุกวัย

 

        อย่างไรก็ตาม กฎหมาย ข้อกำหนด การขึ้นทะเบียน และการประเมินความปลอดภัย ผ่านระบบ “Personal Care Products Council: PCPC หรือสภาผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล” เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ผลิตต้องตระหนัก และรับผิดชอบ เพื่อสร้างความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยมีคุณภาพและประสิทธิภาพเสนอแก่ผู้บริโภค

 

        เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน เชื่อมโยงการทำงานในรูปแบบเครือข่ายนวัตกรรมเครื่องสำอาง แสวงหาตลาดใหม่ ๆ และนำข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนและกำหนดทิศทางพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการไทยเกิดการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมเครื่องสำอางโลกได้อย่างมีประสิทธิผล อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับภาครัฐและเอกชนไทยต่อไป จึงต้องใส่ใจและเรียนรู้การขึ้นทะเบียนและการประเมินความปลอดภัยสารใหม่เพื่อใช้ในเครื่องสำอางผ่านระบบ Personal Care Product Council

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ กฎหมายและข้อกำหนดด้านเครื่องสำอาง
  2. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนการพิจารณา รวมถึงเทคนิคการดำเนินการขอขึ้นทะเบียน ตลอดจนสามารถดำเนินการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในเครื่องสำอางได้อย่างถูกต้อง
  3. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการประเมินความปลอดภัยสารใหม่เพื่อใช้ในเครื่องสำอาง
  4. เพื่อสามารถเข้าใช้งานระบบ “Personal Care Product Council” และเข้าถึงข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น
  5. เพื่อให้ทราบถึงแนวโน้มเทคโนโลยี นวัตกรรม และตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

กลุ่มเป้าหมาย

  • สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอาง สมุนไพร สารสกัด
  • ผู้บริหาร ผู้จัดการ นักลงทุน ที่เกี่ยวข้อง
  • เจ้าของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
  • นักวิจัย ผู้ที่สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ / เจ้าหน้าที่ขึ้นทะเบียนอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
  • ผู้ประกอบการรับจ้างผลิตอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
  • ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
  • นักการตลาด และผู้สนใจทั่วไปในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

รูปแบบการอบรม

  • บรรยาย
  • กรณีศึกษาและตัวอย่าง

หัวข้อบรรยาย

  • กฎหมายและข้อกำหนดด้านเครื่องสำอาง
  • การขึ้นทะเบียนสารใหม่เพื่อใช้ทางเครื่องสำอาง : ข้อกำหนดทั่วไป คุณสมบัติ และขั้นตอนการขึ้นทะเบียน
  • การขึ้นทะเบียนสารใหม่เพื่อใช้ทางเครื่องสำอาง : สารสกัดธรรมชาติ เปปไทด์ พอลิเมอร์ และสารในกลุ่มไบโอเทคโนโลยี
  • การทดสอบความปลอดภัยของสารที่ใช้ทางเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
  • การทดสอบประสิทธิภาพของสารที่ใช้ทางเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
  • การประเมินความปลอดภัยต่อร่างกายทั่วไป (systemic toxicity) ของสารสกัดพืช (botanical extract)
  • การเตรียมข้อมูลและเอกสารประกอบเพื่อใช้ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนสารใหม่ที่ใช้ทางเครื่องสำอาง
  • การเข้าระบบ “Personal Care Product Council” และข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น

วิทยากรประจำหลักสูตร

ผศ.ดร.ภก. วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล
อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรม และผู้จัดการศูนย์ทดสอบเครื่องสำอาง
และเภสัชภัณฑ์ทางผิวหนัง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภญ.กุลธิดา สุขนิวัฒน์ชัย
เภสัชกรชำนาญการพิเศษ เภสัชกรกลุ่มเครื่องสำอางใหม่และนวัตกรรม
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระหว่างวันที่ 19 – 20 กุมภาพันธ์ 2568
เวลา 09.00 – 16.30 น.

ค่าลงทะเบียน

    • บุคคลทั่วไป, หน่วยงานเอกชน, มหาวิทยาลัยเอกชน, สมาคม, มูลนิธิ
      ราคา 12,840 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
    • บุคลากรหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจซึ่งไม่แสวงหากำไร, มหาวิทยาลัยภาครัฐ
      ราคา 12,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) กรุณาอย่าปัดเศษสตางค์

หมายเหตุ

    1. กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568
    2. ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน, เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
    3. สถาบันเป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
    4. เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
    5. ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
    6. ขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลง กำหนดการ วิทยากร และสถานที่จัดอบรม ตามความเหมาะสม
    7. หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการ ก่อนวันจัดอบรม หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน

สถานที่จัดฝึกอบรม

โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

เกณฑ์การประเมินผล

ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรม
ทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81889 (คุณอริสรา)
โทรสาร : 0 2644 8110
e-Mail : bas@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400