หลักสูตรเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ รุ่นที่ 3
(Printed Electronics Technology: PET3)
เตรียมความพร้อมสู่อุตสาหกรรมการพิมพ์รูปแบบใหม่
ด้วยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
Key Highlights:
-
- เข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์และทิศทางในอนาคต
- รู้ลึกถึงหลักการและความน่าสนใจของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
- เข้าใจถึงวิธีการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์จากกรณีศึกษาจริง
- เปิดมุมมองทางธุรกิจและสร้างโอกาสใหม่ทางการตลาดจากเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
- ได้เยี่ยมชมผลงานวิจัยและฝึกปฏิบัติการอย่างเข้มข้นกับทีมงานศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ (TOPIC) NECTEC
- เข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์และทิศทางในอนาคต
หลักการและเหตุผล
อิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ (Printed Electronics) เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการพิมพ์ที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ปัจจุบันมาใช้สร้างวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยใช้พลาสติกนำไฟฟ้าหรือโมเลกุลอินทรีย์เพื่อสร้างวงจรหรือเป็นฐานรองสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อันมีผลทำให้เกิดกระบวนการใหม่ในการประกอบอุปกรณ์ รวมไปถึงคุณสมบัติใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการประยุกต์ใช้งานได้เพิ่มเติมหรือใหม่ไปจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้จะทำให้การผลิตวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีราคาถูกลง ไม่ต้องใช้เครื่องมือและห้องสะอาด (Cleanroom) ราคาแพง ประเทศที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ยุโรป ล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญและลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ชนิดนี้ ประเทศไทยเองก็มีความหวังที่จะขยับตัวเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือ มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการพิมพ์ และ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่ค่อนข้างเข้มแข็ง จากผลการสำรวจความตระหนักของภาคการศึกษาและอุตสาหกรรมที่มีต่ออุตสาหกรรมใหม่นี้ ได้พบว่ามหาวิทยาลัยหลายแห่งมีการวิจัยที่เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์แนวใหม่พอสมควร และสำหรับภาคอุตสาหกรรมนั้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติกและอุตสาหกรรมการพิมพ์ก็ให้ความสนใจและต้องการร่วมมือ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์นั้นต้องอาศัยความรู้ในหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ วัสดุศาสตร์ โพลิเมอร์ นาโนเทคโนโลยี วิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ควอนตัมฟิสิกส์ เทคโนโลยีการพิมพ์ วิศวกรรมพื้นผิว เป็นต้น ดังนั้นในการทำวิจัยและพัฒนาและวิศวกรรม (R&D&E) เกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ จึงต้องอาศัยการทำงานแบบร่วมมือกันและบูรณาการกันในการสร้างงานวิจัยและต้นแบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์เป็นความหวังของการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการพิมพ์หมึกหรือพลาสติกนำไฟฟ้าลงบนลายวงจรด้วยเทคนิคการพิมพ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์แบบออฟเซ็ต (Offset) หรือแบบอิงค์เจ็ต (Inkjet) การสร้างชิปวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่นี้ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์การใช้งานแบบใหม่ๆ ที่ชิปอิเล็กทรอนิกส์แบบ CMOS ไม่สามารถทำได้ เช่น RFID ที่มีราคาถูกสามารถใช้แล้วทิ้งได้ จอภาพแบบใหม่ที่สามารถโค้งงอหรือม้วนได้ เซลล์แสงอาทิตย์ที่สามารถพิมพ์ลงบนหลังคาหรือผนังได้โดยตรง
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดังกล่าว จึงได้พัฒนา “หลักสูตรเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ (Printed Electronics Technology: PET)” ขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ การประยุกต์ใช้งานในลักษณะต่างๆ และการศึกษาดูงานหน่วยงานที่มีการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ เพื่อเปิดมุมมองเกี่ยวกับโอกาสในการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ที่นับวันจะมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วและมีส่วนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อวิถีชีวิตของผู้คนยุคใหม่ในอนาคต
วัตถุประสงค์
-
- เพื่อส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ในประเทศไทย
- เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ ลักษณะและประเภทของอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ที่มีในปัจจุบัน การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการประยุกต์ลักษณะงานแต่ละประเภท การพิจารณาองค์ประกอบและตัวแปรในการใช้งานสำหรับแต่ละลักษณะงานหรือแต่ละอุตสาหกรรม
- เพื่อติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ล่าสุดในปัจจุบัน
- เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จริงจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ ตลอดจนรับรู้ถึงปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการทำงาน
- เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
- เพื่อส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ในประเทศไทย
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ เข้าใจกระบวนการทำงานและรู้จักเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
- มองเห็นโอกาสในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนางาน รวมทั้งมองเห็นปัญหาอุปสรรคที่มี
- สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการตัดสินใจลงทุนในเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ และสามารถประยุกต์ใช้งานอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแก่ตนเองได้
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
- นักลงทุน/ผู้ประกอบการธุรกิจที่สนใจเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย
- นักเทคโนโลยีการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต
- หน่วยงานเอกชนหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
- นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ นักออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ นักออกแบบอาคาร นักออกแบบโฆษณา
- ผู้ประกอบการของเล่น ของที่ระลึก ที่สนใจการสร้างสรรค์แบบใหม่ๆ
- ประชาชนทั่วไปที่สนใจเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ทั้งในเชิงธุรกิจและสันทนาการ
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการและการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ เปิดมุมมองทางธุรกิจ และสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดจากเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ ประกอบด้วยการบรรยาย การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การศึกษาดูงานศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ (TOPIC) การดูการสาธิตการทำงานเครื่องพิมพ์ และการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้น รวม 18 ชั่วโมง/3 วันทำการ ดังนี้
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วัน) |
บรรยาย เสวนา และกรณีศึกษา | 12 | 2.0 |
ศึกษาดูงานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ | 3 | 0.5 |
ฝึกปฏิบัติ | 3 | 0.5 |
รวม | 18 | 3 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- ความรู้พื้นฐาน หลักการ และความน่าสนใจของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
- แนวโน้มและโอกาสทางการตลาดจากเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
- เทคโนโลยีการพิมพ์สำหรับอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
- การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีกระบวนการพิมพ์
- ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
- กรณีศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ (Showcase) ที่ใช้งานจริง
- มุมมองทางธุรกิจต่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
- การเสวนาประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
- การศึกษาดูงานและอบรมพื้นฐานทางทฤษฎี โดยศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ (TOPIC)
- ฝึกปฏิบัติ: การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้วยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
- ความรู้พื้นฐาน หลักการ และความน่าสนใจของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์
-
หมายเหตุ:
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักสูตร วิทยากร และสถานที่ดูงาน ตามความเหมาะสมและความจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
วิทยากรประจำหลักสูตร
ดร. อดิสร เตือนตรานนท์
ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ (TOPIC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
รศ.ดร. อรัญ หาญสืบสาย
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร. จีรานุช บุดดีจีน
อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คุณวิมลศักดิ์ เจริญเบญจวงษ์
Customer Support
บริษัท โนวา อินเตอร์เทค จำกัด
คุณคมกฤช สัจจาอนันตกุล
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท เฮเดล เทคโนโลยี (ประเทศไทย)
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 20 – 22 มีนาคม 2561
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 15,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
หมายเหตุ
-
- กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 10 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
สถานที่จัดอบรม
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80%
และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพสำหรับการจัดฝึกอบรมและการศึกษา ISO 10015
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS