Select Page

งานสัมมนาออนไลน์


NSTDA Pharma Talk#2

 

อบรม Online ผ่านโปรแกรม  

Key Highlights

    • Update Technology Trend ของโลกในผลิตภัณฑ์ด้านยาแต่ละประเภท ตลอดจน Update งานวิจัยที่สามารถทำได้ในประเทศและทิศทางที่เราควรจะเดิน
    • ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมถ่ายทอดของผลิตภัณฑ์ด้านยาแต่ละกลุ่ม
    • บริการและการให้คำปรึกษาที่ สวทช. สามารถช่วยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมได้
    • รูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีและลิขสิทธิ์ที่เกิดจากความร่วมมือ

NSTDA Pharma Talk

          NSTDA Pharma Talk เป็นงานสัมมนาออนไลน์ประกอบด้วย หัวข้อในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แต่ละกลุ่มทางด้านยา ไม่ว่าจะเป็นยาเคมี สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (API) สมุนไพร วัคซีน การวิเคราะห์ทดสอบ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

บริษัทผู้ผลิตยาเคมี สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (API) สมุนไพร วัคซีน , บริษัท หน่วยงานผู้ให้บริการวิจัยพัฒนา วิเคราะห์ทดสอบด้านยา , นักลงทุนที่สนใจธุรกิจด้านยาและสุขภาพ และนักศึกษา และบุคคลทั่วไป

 

ลงทะเบียน

หัวข้อ: Pharma ConneX จับคู่....และต่อยอด

เนื้อหาโดยสังเขป:

      โครงการ Pharma ConneX จับคู่….และต่อยอด ได้จัดกิจกรรมมาแล้ว 2 รุ่นในปี 2023-2024 สนับสนุนโครงการวิจัยด้านยาและสุขภาพการแพทย์มาแล้ว 15 โครงการ งบประมาณโครงการรวมกว่า 10 ล้านบาท โครงการมีความมุ่งมั่นเพื่อช่วยจับคู่โจทย์วิจัยตามความต้องการของภาคเอกชนกับนักวิจัย สวทช. เพื่อช่วยพัฒนางานวิจัยได้ตรงโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ new S-curve ใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมยา และช่วยผลักดันสนับสนุนให้งานวิจัยได้ออกสู่ตลาดได้อย่างแท้จริง โดยปีนี้เรากำลังเปิดรับสมัคร Pharma ConneX 2025 สนับสนุนงบประมาณ 50% ไม่เกิน 400,000 บาท หากท่านกำลังประสบปัญหาที่บริษัท เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ NSTDA Pharma Network

วิทยากร:

ดร.วันวิสาข์ ทองคำวิฑูรย์
ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ (RNS)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาต (สวทช.)

 

ระยะเวลาของหลักสูตร:

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2567
เวลา 10.00 – 11.30 น.

ลงทะเบียน

รับชมวีดีโอย้อนหลัง

NSTDA Pharma Talk#1

หัวข้อ: Synthetic chemistry in pharma industry

เนื้อหาโดยสังเขป:

          การสังเคราะห์ยาเป้าหมายด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์ ลด impurity
และลดต้นทุนเพื่อการแข่งขันได้ ตลอดจน Update Technology Trend ด้านการสังเคราะห์ API

วิทยากร:

ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์
นักวิจัย ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่ออุตสาหกรรม (BBI)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 

ระยะเวลาของหลักสูตร:

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566
เวลา 14.30 – 16.00 น.

ดูวีดีโอย้อนหลัง:

หัวข้อ: Microbial Treasure: Unraveling Nature's Bioactive Wonders

เนื้อหาโดยสังเขป:

ขุมทรัพย์จุลินทรีย์: สู่การค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากธรรมชาติ

    1. การนำจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพประเภทต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติทั้งในด้านการแพทย์ การเกษตร และอาหาร
    2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาเชื้อจุลินทรีย์ และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการคัดกรอง และผลิตสารให้มีการผลิตสารในปริมาณที่มากขึ้นได้
    3. ทำความรู้จักกับหน่วยงานที่รวบรวมและเก็บรักษาจุลินทรีย์และตัวอย่างชีววัสดุอื่นๆ ของ สวทช. ซึ่งให้บริการกับกลุ่มนักวิจัย หน่วยงานวิจัย และภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ

วิทยากร:

ดร.อัยดา อรุณศรี
นักวิจัย กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ (IBIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 

ระยะเวลาของหลักสูตร:

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม 2566
เวลา 10.00 – 11.30 น.

ดูวีดีโอย้อนหลัง:

หัวข้อ: NSTDA's vaccine platforms: research highlights and applications

เนื้อหาโดยสังเขป:

          การพัฒนาวัคซีนในคนและสัตว์ ด้วยเทคโนโลยีของ virus vector และตัวอย่างของต้นแบบวัคซีน รวมถึงบริการวิเคราะห์ทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

วิทยากร:

ดร.ฌัลลิกา แก้วบริสุทธิ์
นักวิจัย กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 

ระยะเวลาของหลักสูตร:

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2566
เวลา 10.00 – 11.30 น.

ดูวีดีโอย้อนหลัง:

หัวข้อ: Capture the nature to deliver the treasure

เนื้อหาโดยสังเขป:

          งานวิจัยด้านสมุนไพรของ สวทช. เริ่มจากการคัดสรรวัตถุดิบ การสกัด การทำบริสุทธิ์ การใช้เทคโนโลยีด้าน Encapsulation & Formulation เข้ามาเสริมให้สารมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น มีการทดสอบเพื่อประเมิน Efficacy & Safety และการผลิตในระดับ pilot scale นอกจากนี้ยังมีโรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอางที่ได้มาตรฐาน ASEAN GMP Cosmetic เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอางใช้นวัตกรรมทางด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการตลาด ซึ่งมีความหลากหมายครอบคลุมในส่วนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง และการรักษาแผลเป็นต่างๆ

วิทยากร:

ดร.ชญานันท์ เอี่ยมสำอางค์
นักวิจัย กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน (NCAP)
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTAC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 

ระยะเวลาของหลักสูตร:

วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2566
เวลา 10.00 – 11.30 น.

ดูวีดีโอย้อนหลัง:

หัวข้อ: Quality and safety reassurance of pharmaceutical products
เนื้อหาโดยสังเขป:

          ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมี บริการวิเคราะห์องค์ประกอบของสารที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยระบุชนิดของสารด้วยเลขมวล ทำให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่แม่นยำมาก สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมหลายประเภท การวิเคราะห์หาตำแหน่ง ชนิด ปริมาณ การกระจายตัว และ Metabolite ของสารออกฤทธิ์สำคัญต่างๆ ในตัวอย่าง รองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอาหาร อาหารเฉพาะทาง อาหารเพื่อผู้สูงอายุ สมุนไพร และยารักษาโรค

          ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะทางชีวภาพ ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบคุณสมบัติทางชีวภาพ ได้แก่บริการงานทดสอบด้าน Enzyme Activity Assay, งานทดสอบด้าน Protein analysis และ งานทดสอบด้าน Biomolecular Analysis ด้วยวิธีการทดสอบที่ได้มาตรฐานและมีวิธีปฏิบัติงานตาม NSTDA Standard Method

          ห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบทางจุลชีววิทยา ได้แก่ บริการงานทดสอบ ด้าน Microbial Testing, งานทดสอบด้าน Antibacterial Activity และงานทดสอบด้าน Mutagenicity ด้วย วิธีการทดสอบที่ได้มาตรฐาน

วิทยากร:

คุณพิมพรรณ สุขเนตร์
เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ (NCTC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 

ระยะเวลาของหลักสูตร:

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2566
เวลา 10.00 – 11.30 น.

ดูวีดีโอย้อนหลัง:

หัวข้อ: Technology transfer & Licensing

เนื้อหาโดยสังเขป:

          กล่าวถึง รูปแบบ ขั้นตอนของกิจกรรมการนำเทคโนโลยีของสวทช.ไปใช้ประโยชน์ แนะนำวิธีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่รวบรวมผลงานการวิจัยและพัฒนาที่น่าสนใจและหลากหลาย เพื่อเป็นช่องทางของการทำงานร่วมกันระหว่างสวทช.และผู้ประกอบการ นำเสนอโดยผู้แทนจากหน่วยงานสำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (Technology Licensing Office: TLO) ซึ่งเป็นหน่วยงานของ สวทช.ที่สนับสนุนและส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยและพัฒนาของ สวทช. ในรูปแบบการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Technology Transfer and Technology Commercialization) เพื่อให้เกิดการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ภายใต้แนวคิด “จากงานวิจัยสู่ตลาด…FROM LAB TO MARKET”

วิทยากร:

คุณปณิธาน ลีละธนาวิทย์
ผู้จัดการงานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 

ระยะเวลาของหลักสูตร:

วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม 2566
เวลา 10.00 – 11.30 น.

 ดูวีดีโอย้อนหลัง:

NSTDA Pharma Talk#2

หัวข้อ: Miracle of Epidermal Growth Factor…ผลิตได้ ใช้จริง

เนื้อหาโดยสังเขป:

          ปัจจุบัน มีนวัตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง ยา เครื่องมือแพทย์ ที่มีศักยภาพสูงในการรักษาแผล ในสภาวะต่างๆ เช่น แผลเบาหวาน แผลไหม้ และแผลเรื้อรัง แต่จะมีสักกี่ตัวที่สามารถกระตุ้นการทำงานระดับเซลล์ กระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่ เร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และมีการใช้การอย่างแพร่หลายในระดับสากล
แต่มีผู้ป่วยในประเทศไทยจำนวนน้อยมาก ที่สามารถเข้าถึงการรักษาดังกล่าวได้ ด้วยข้อจำกัดของราคา และสวัสดิการการรักษาพยาบาลของรัฐที่ประชากรไทยส่วนมากยังต้องพึ่งพิงอยู่ นักวิจัย สวทช. จึงผลิตโปรตีน epidermal growth factor (EGF) ซึ่งเป็นสาระสำคัญ ที่มีคุณสมบัติเหล่านั้นได้ โดยโปรตีนที่ผลิตได้ มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความคงตัวสูง ที่สามารถแข่งขันทางการตลาดได้……….เรามาทำความรู้จักความมหัศจรรย์ของโปรตีนตัวนี้ในงานสัมมนานี้กันค่ะ

วิทยากร:

ดร.กตัญชลี ไม้งาม
นักวิจัย ทีมวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (MPI)
ด้านวิจัยและพัฒนาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม (ด้านวิจัยและพัฒนาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม)

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 

ระยะเวลาของหลักสูตร:

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567
เวลา 10.00 – 11.30 น.

ดูวีดีโอย้อนหลัง:

หัวข้อ: R&D Excellence Towards Innovation: Power of Nanoencapsulation

เนื้อหาโดยสังเขป:

        ในปัจจุบันสมุนไพรไทยได้รับความสนใจอย่างมากในหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ ยา และเครื่องสำอาง เนื่องจากสรรพคุณต่างๆของพืชสมุนไพรไทย อย่างไรก็ตาม การนำสารสกัดจากสมุนไพรไปใช้งานมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น มีความคงตัวต่ำ และมีความสามารถในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อย ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานของสารสกัดสมุนไพรไทยก็จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
        ทีมวิจัยจาก สวทช. จึงได้พัฒนาสูตรเพื่อนำส่งสารสกัดสมุนไพรโดยใช้เทคโนโลยีนาโนเอนแคปซูลเลชัน (nanoencapsulation) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม ควบคุมการปล่อย และการส่งสารสำคัญไปยังเซลล์หรืออวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งได้รับการทดสอบแล้วว่ามีคุณสมบัติในการยืดอายุ (shelf-life) ของสารสำคัญในสมุนไพรไม่ให้เสื่อมสภาพ รวมถึงมีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือบรรเทาโรคต่างๆได้ และด้วยความสามารถในการพัฒนานี้ ทีมวิจัยของเราได้มีการจดสิทธิบัตรเพื่อให้พร้อมสำหรับการพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เช่น อาหารเสริมสุขภาพ วัคซีน และผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ และมนุษย์

วิทยากร:

ดร.นิศากร ยอดสนิท
นักวิจัย กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน (NCAP)
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 

ระยะเวลาของหลักสูตร:

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567
เวลา 10.00 – 11.30 น.

ดูวีดีโอย้อนหลัง:

หัวข้อ: “สิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อส่งเสริมการวิจัยฯ ในอุตสาหกรรมยา”

เนื้อหาโดยสังเขป:

      กล่าวถึง สิทธิประโยชน์ทางภาษีในส่วนรายจ่ายที่ผู้ประกอบการลงทุนทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (RDI) โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักรายจ่ายเพื่อทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายจริง กรณีมีรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้แก่ผู้รับทำการวิจัยฯ ที่ได้รับการประกาศรายชื่อในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (รายชื่อดัง Link, https://www.rd.go.th/56999.html) และได้รับการรับรองความเป็นงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก สวทช. ซึ่งปัจจุบัน สวทช. มีให้บริการรับรองใน 2 รูปแบบได้แก่ บริการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และบริการรับรองระบบบริหารการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาคเอกชน (RDIMS)

วิทยากร:

คุณพรศิริ ทองเปรม
ผู้ช่วยผู้จัดการงานสนับสนุนการวิจัยพัฒนาภาคเอกชน (PSR)
ฝ่ายส่งเสริมนวัตกรรม (IPD)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 

ระยะเวลาของหลักสูตร:

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2567
เวลา 10.00 – 11.30 น.

ดูวีดีโอย้อนหลัง:

หัวข้อ: The Magic Bullets for Successful Biological and Natural Molecule Delivery

เนื้อหาโดยสังเขป:

      ปัจจุบันมีการใช้เภสัชภัณฑ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ และสารจากธรรมชาติ มากขึ้น ทั้งในด้านยา เวชสำอาง และอาหารเสริม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาและบำรุงร่างกาย โดยสารชีวโมเลกุลส่วนมากเป็นสารจำพวก โปรตีน, อนุพันธ์ของเปปไทด์ และสารทางพันธุกรรม เช่น DNA และ RNA ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้สลายตัวได้ง่ายจากสภาวะการกระตุ้นจากภายนอก เช่น pH, และ เอนไซม์ ต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากโมเลกุลชีวภาพเหล่านี้ เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ จึงต้องมีการใช้ระบบนำส่งที่ดี โดยใช้อนุภาคนาโนในการช่วยนำส่ง ที่มีประสิทธิภาพและปกป้องการสลายตัวของสารชีวโมเลกุลเหล่านี้ เช่นเดียวกับการใช้สารสกัดจากธรรมชาติที่ต้องมีการใช้ควบคู่กับระบบนำส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมเข้าสู่เซลล์ที่ต้องการ นักวิจัย สวทช. จึงพัฒนาระบบนำส่งระดับนาโนเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคเอกชน และภาครัฐ ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ผลิตภัณฑ์จากสารชีวโมเลกุล และสารสกัดจากธรรมชาติ

วิทยากร:

ดร.กนกวรรณ ศันสนะพงษ์ปรีชา
นักวิจัย ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์และสัตวแพทย์ (NMV)
กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโนและระบบนำส่งทางชีวภาพ (NCBS)
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาต (สวทช.)

 

ระยะเวลาของหลักสูตร:

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567
เวลา 10.00 – 11.30 น.

ดูวีดีโอย้อนหลัง:

รูปแบบการสัมมนา​

ผ่านระบบโปรแกรม Zoom Meeting

ติดต่อประสานงาน
ด้านรายละเอียด เนื้อหาอบรม

 

ฝ่ายยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล
Strategy, Monitoring and Evaluation Office Division (SME)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2564 7000 ต่อ 1479 (คุณวันวิสาข์)
E-MAIL : wanwisa.tho@nstda.or.th

โทรศัพท์ : 0 2564 7000 ต่อ 1479 (คุณศศิวรรณ)
E-MAIL : sasiwan.lao@nstda.or.th

ติดต่อประสานงาน
ด้านลงทะเบียน และวิธีการชำระเงิน

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81889 (คุณอริสรา)​
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : bas@nstda.or.th