Select Page

หลักสูตรมาตรฐานระบบราง

 (Railway Engineering Standards: RES)

Key Highlights

    • เจาะลึกมาตรฐานระบบรางทั้งในระดับประเทศและระดับสากล เพื่อนำไปปฏิบัติและปรับใช้ได้จริง
    • เรียนรู้การทดสอบและรับรองคุณภาพชิ้นส่วนระบบรางตามมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content)
    • ฝึกปฏิบัติการทดสอบชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบราง ณ ศูนย์วิจัยและบริการวิศวกรรมงานเชื่อม มจธ.
    • ศึกษาดูงานศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.)
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยตรงกับวิทยากรผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านมาตรฐานระบบราง

หลักการและเหตุผล

          จากแผนการลงทุนของประเทศไทยในโครงสร้างพื้นฐานระบบรางปี 2561-2583 รวม 23 โครงการ งบประมาณการก่อสร้าง 2.5 ล้านล้านบาท โดยได้มีการตั้งเป้าที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันที่สูงและสามารถเชื่อมต่อกับภูมิภาคและประเทศต่างๆ ได้ด้วยระบบราง ทำให้ในปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายมีความต้องการลงทุนด้านงานระบบรางมากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำเทคโนโลยีจากผู้ผลิตที่แตกต่างกันมาใช้บนโครงข่ายร่วมกัน จำเป็นต้องมีมาตรฐาน กฎระเบียบ และข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานระบบการขนส่งทางรางเกิดความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และสามารถเข้ากันได้ตลอดโครงข่ายภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต

 

          หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาโดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานระบบราง เพื่อเป็นการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางรางสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาระบบขนส่งทางรางได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าชิ้นส่วนระบบราง เพื่อการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศอย่างยั่งยืน

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านระบบรางของประเทศให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานระบบราง และการทดสอบวิเคราะห์ด้านระบบราง
    2. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ ให้สามารถผลิตชิ้นส่วนได้ตามมาตรฐาน เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ
    3. เพื่อขยายฐานความรู้ด้านมาตรฐานระบบราง เพื่อการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  1. ได้รับความรู้ความเข้าใจและแนวคิดเกี่ยวกับมาตรฐานระบบรางในระดับประเทศและระดับสากล
  2. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทดสอบวิเคราะห์และการรับรองคุณภาพชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบรางและ
    ชิ้นส่วนรถไฟตามมาตรฐาน
  3. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยประสบการณ์ด้านมาตรฐานระบบราง
  4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางราง
  2. ผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนและเครือข่ายด้านระบบขนส่งทางราง
  3. ภาคการศึกษา
  4. บุคคลทั่วไปที่สนใจในระบบขนส่งทางราง

 

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านระบบขนส่งทางราง ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานระบบราง
(Railway Engineering Standards) และการทดสอบรับรองคุณภาพด้านระบบราง ประกอบด้วย การบรรยาย การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และการศึกษาดูงาน รวม 18 ชั่วโมง/3 วันทำการ ดังนี้

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
การบรรยาย 12 2.0
การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 3 0.5
การศึกษาดูงาน 3 0.5
รวม 18
3 วัน

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

    • นโยบายมาตรฐานระบบรางของประเทศ
    • มาตรฐานระบบรางสากล และมาตรฐานระบบรางในประเทศไทย
    • มาตรฐานอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระบบราง
    • การทดสอบรับรองคุณภาพ ด้านระบบรางและชิ้นส่วนรถไฟ

หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยยังคงเนื้อหา และสาระสำคัญของการอบรมไว้

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระหว่างวันที่ 18 – 20 กรกฎาคม 2565
เวลา 9.00 – 16.00 น.
(รวมระยะเวลาอบรม 3 วัน)

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 14,900 บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
โปรโมชั่นพิเศษ!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป
รับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียงท่านละ 13,410 บาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

*เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

หมายเหตุ:

    • กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 8 กรกฎาคม 2565
    • สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
    • ผู้เข้าอบรมต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนป้องกันโรค Covid-19 ตามมาตรการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมผลตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม
    • ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
    • หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
    • ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
      ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

สถานที่จัดฝึกอบรม

โรงแรม พูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ
เลขที่ 8/2 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

**ผู้เข้าอบรมต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนป้องกันโรค Covid-19
ตามมาตรการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมผลตรวจ
ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม**

เกณฑ์การประเมินผล

          ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81894 (คุณนพมล)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400