หลักสูตรการบริหารจัดการการขนส่งสินค้า
โดยใช้ระบบขนส่งทางราง
(Railway Logistics Management: RLM)
Key Highlights
-
- เรียนรู้การบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางราง
- เห็นตัวอย่างการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางรางภายในประเทศและต่างประเทศ
- ศึกษาดูงานด้านการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางราง ณ โครงการรถไฟไทย-ลาว-จีน (จังหวัดหนองคาย) และโครงการรถไฟลาว-จีน (สปป.ลาว)
- เรียนรู้การบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางราง
หลักการและเหตุผล
ระบบขนส่งทางรางมีความสำคัญยิ่งต่อการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมากและต้องขนส่งในระยะทางไกลๆ ซึ่งการขนส่งทางรางจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งไปได้มาก ทั้งค่าโดยสารและระยะเวลาในการขนส่ง เมื่อเทียบกับการขนส่งในรูปแบบอื่น ดังนั้น การบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางราง (Railway Logistics Management) อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศได้
ด้วยแนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนการพัฒนาระบบขนส่งของไทยในระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) โดยได้วางแผนด้านการคมนาคมขนส่งทางราง ให้มีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการขนส่งระบบรถไฟทั่วประเทศเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง โดยเชื่อมโยงทั่วทุกภูมิภาคและรองรับการเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมีโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ซึ่งดำเนินการเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา และช่วงที่ 2 นครราชสีมา – หนองคาย รวมถึงโครงการถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) เพื่อให้เกิดโครงข่ายการคมนาคมที่สมบูรณ์ในประเทศ และเชื่อมต่อกับระบบรางของลาวและจีนออกไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบขนส่งทางรางแบบไร้รอยต่อ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจไทย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาโดยมุ่งเน้นเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการการขนส่งสินค้า โดยใช้ระบบขนส่งทางรางตลอดกระบวนการทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้า ผ่านการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและการศึกษาดูงานเชิงประจักษ์ด้านการขนส่งสินค้าทางระบบรางทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านการขนส่ง (Logistics) ของประเทศ และสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาระบบขนส่งทางรางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านระบบรางของประเทศ ให้มีองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางราง (Railway Logistics Management) อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้เห็นตัวอย่างการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางรางทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการศึกษาดูงานเชิงประจักษ์
- เพื่อสนับสนุนนการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของไทยอย่างยั่งยืน
- เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านระบบรางของประเทศ ให้มีองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางราง (Railway Logistics Management) อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม
- ได้รับความรู้ความเข้าใจและแนวคิดด้านการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางรางอย่างมีประสิทธิภาพ
- ได้เรียนรู้และศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางรางทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
- ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าทางราง (Railway Logistics)
- สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มเป้าหมาย
- ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางราง
- ภาคอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์ และเครือข่ายด้านระบบขนส่งทางราง
- ภาคการศึกษา
- บุคคลทั่วไปที่สนใจในระบบขนส่งทางราง
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านระบบขนส่งทางราง ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางราง (Railway Logistics Management) ประกอบด้วย การบรรยาย และการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ รวมจำนวน 36 ชั่วโมง/6 วันทำการ ดังนี้
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วัน) |
การบรรยาย | 6 | 1 |
บรรยาย และศึกษาดูงาน
|
30 |
5 วัน 4 คืน |
รวม | 36 | 6 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
- การบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางราง
- กรณีศึกษาการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางรางภายในประเทศ
- กรณีศึกษาการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางรางของต่างประเทศ
- ศึกษาดูงานโครงการรถไฟไทย-ลาว-จีน และโครงการรถไฟลาว-จีน
- การบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางราง
หมายเหตุ: กำหนดการและสถานที่ดูงานอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยยังคงเนื้อหา และสาระสำคัญของการอบรมไว้
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 6 – 11 พฤศจิกายน 2566
เวลา 9.00 – 16.00 น.
(รวมระยะเวลาอบรม 6 วัน)
การบรรยาย
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น.
บรรยาย และศึกษาดูงาน
ระหว่างวันที่ 7 – 11 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 49,000 บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
*เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ
- กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 6 ตุลาคม 2566
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 10 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
สถานที่จัดฝึกอบรม
บรรยายภาคทฤษฎี
ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
บรรยาย และศึกษาดูงาน
ณ จังหวัดหนองคาย
และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81894 (คุณนพมล)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS