หลักสูตรแนวคิดและมาตรฐาน
การออกแบบสถานีรถไฟ รุ่นที่ 3
(Concept and Standard in Railway Station Design: RSD3)
Key Highlights
-
- เรียนรู้แนวคิดและมาตรฐานการออกแบบสถานีรถไฟ ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีและโดยรอบสถานี
- เห็นตัวอย่างการออกแบบสถานีรถไฟที่ดีทั้งในและต่างประเทศ
- มุ่งเน้นการให้ความรู้และประสบการณ์ตรงจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่สามารถนำไปปฏิบัติและปรับใช้ได้จริง
- ศึกษาดูงานการออกแบบสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของประเทศ และเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- เรียนรู้แนวคิดและมาตรฐานการออกแบบสถานีรถไฟ ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีและโดยรอบสถานี
หลักการและเหตุผล
การพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศถือเป็นส่วนสำคัญที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐานทั้งด้านการออกแบบ การก่อสร้าง การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาโครงสร้างทางรถไฟ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสะดวกต่อผู้ใช้บริการ ปัจจุบัน การพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศยังขาดแนวคิดและมาตรฐานการออกแบบสถานีรถไฟที่ดี การออกแบบสถานีรถไฟของไทยยังไม่ได้คำนึงถึงการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรูปแบบการเดินทางและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเข้าใช้บริการ ดังนั้นในการออกแบบระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะ (Mass Transit System) โดยเฉพาะการออกแบบสถานี จึงควรผสมผสานแนวคิดการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณสถานี (Mixed-use) ไว้ด้วย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าระบบขนส่งทางรางเป็นส่วนที่ต้องใช้การลงทุนสูง แต่เมื่อเป็นการให้บริการสาธารณะ จึงไม่สามารถเก็บค่าโดยสารในราคาที่เหมาะสมกับต้นทุนได้ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เช่น การผสมผสานการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย สำนักงาน สถานประกอบการ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ร้านค้าต่างๆ และการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะหลายรูปแบบ จะทำให้เกิดรายได้ที่มาทดแทนภาระการลงทุนที่รัฐได้ลงทุนไปในโครงสร้างพื้นฐานได้
หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาโดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและมาตรฐานการออกแบบสถานีรถไฟ (Concept and Standard in Railway Station Design) โดยการฝึกอบรมจะให้ความรู้ทั้งด้านวิชาการ และเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในเรื่องการออกแบบสถานีและมาตรฐานการออกแบบ และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีและโดยรอบสถานี เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้และต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านระบบรางของประเทศให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและมาตรฐานการออกแบบสถานีรถไฟ ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีและโดยรอบสถานี (Transit Oriented Development: TOD)
- เพื่อขยายฐานความรู้ด้านแนวคิดและการออกแบบสถานีรถไฟ เพื่อการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
- เพื่อพัฒนาบุคลากรของภาครัฐ และเอกชน ที่สนใจการพัฒนาธุรกิจเชิงพาณิชย์ในสถานีและโดยรอบสถานี
- เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านระบบรางของประเทศให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและมาตรฐานการออกแบบสถานีรถไฟ ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีและโดยรอบสถานี (Transit Oriented Development: TOD)
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม
- ได้รับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับแนวคิดและมาตรฐานการออกแบบสถานีรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีและโดยรอบสถานี
- ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ
- สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มเป้าหมาย
- ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางราง
- ผู้ประกอบการเดินรถไฟและเครือข่ายในด้านการขนส่งระบบราง
- นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์
- ภาคการศึกษา
- บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในด้านระบบขนส่งทางราง
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและมาตรฐานการออกแบบสถานีรถไฟ (Concept and standard in Railway Station Design) ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีและโดยรอบสถานี (Transit Oriented Development: TOD) ประกอบด้วย การบรรยาย และการศึกษาดูงาน รวม 18 ชั่วโมง/3 วันทำการ ดังนี้
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วัน) |
การบรรยาย และกรณีศึกษา | 15 | 2.5 |
การศึกษาดูงาน | 3 | 0.5 |
รวม | 18 |
3 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- การออกแบบสถานีรถไฟและมาตรฐานการออกแบบ
- กรณีศึกษาการออกแบบสถานีรถไฟในต่างประเทศและประเทศไทย
- การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีและโดยรอบสถานี
- กลไกการพัฒนาและกรณีศึกษา การทำ TOD ในต่างประเทศและประเทศไทย
- กรณีศึกษา TOD ในต่างประเทศและประเทศไทย
- การศึกษาดูงานการออกแบบสถานีรถไฟ
- การออกแบบสถานีรถไฟและมาตรฐานการออกแบบ
-
หมายเหตุ: กำหนดการและสถานที่ดูงานอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยยังคงเนื้อหา และสาระสำคัญของการอบรมไว้
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% จึงจะได้รับวุฒิบัตร
จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 8 – 10 สิงหาคม 2565
เวลา 9.00 – 16.00 น.
(รวมระยะเวลาอบรม 3 วัน)
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 14,900 บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
โปรโมชั่นพิเศษ!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป
รับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียงท่านละ 13,410 บาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) (ออกใบเสร็จรับเงินรวมกัน 1 ใบ)
หมายเหตุ
- กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ผู้เข้าอบรมต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนป้องกันโรค Covid-19 ตามมาตรการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมผลตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม
- ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
สถานที่จัดฝึกอบรม
โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ
เลขที่ 8/2 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81894 (คุณนพมล)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS