Key Highlights
-
- ก้าวแรกในการ Reskill บุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและสมรรถนะสู่อาชีพช่างติดตั้งและบำรุงรักษาระบบฯ ที่มีความต้องการสูง อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานอาชีพ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ
- เรียนรู้หลักการทางเทคโนโลยีและฝึกทักษะพื้นฐานที่ถูกต้องครบถ้วน เพื่อความเป็นมืออาชีพในการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ตามมาตรฐานอย่างปลอดภัย
- เตรียมความพร้อมสู่การประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ผู้ปฏิบัติงานด้านการติดตั้ง ซ่อมและบำรุงรักษา ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ (TPQI)
- ก้าวแรกในการ Reskill บุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและสมรรถนะสู่อาชีพช่างติดตั้งและบำรุงรักษาระบบฯ ที่มีความต้องการสูง อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานอาชีพ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก ประกอบด้วย Solar Farm, Solar PV Rooftop และโครงการต่างๆ ของภาครัฐ จากเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 6,000 MW ตามแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของประเทศ PDP 2015 และในแผน PDP 2018 มีเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก 12,725 MW ในอีก 18 ปี ข้างหน้า โดยจะมีกำลังผลิตส่วนใหญ่จากโครงการโซลาร์ภาคประชาชนจำนวน 10,000 MW และจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในโครงการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำอีก 2,725 MW นอกจากนี้รัฐบาลยังได้มีการดำเนินการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียนห่างไกล และโครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ห่างไกล รวมกว่า 3,000 แห่ง
ที่ผ่านมาผู้ปฏิบัติงานและผู้ประกอบอาชีพด้านระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่เป็นบุคคลากรที่มีพื้นฐานและวุฒิการศึกษาทางด้านช่าง เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรสาขาต่างๆ รวมถึงผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านการตลาดและบริหารซึ่งทำงานด้านการขายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านนี้โดยเฉพาะ ในขณะที่การขยายตัวของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นดังที่กล่าวไว้ในตอนต้น และยังเกิดโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ต่างๆ อีกมากมายกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ดังนั้น การพัฒนาสมรรถนะและทักษะความสามารถของบุคลากรในประเทศด้านการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ทั้งการเพิ่มสมรรถนะบุคลากรเดิม (Upskill/Reskill) และการสร้างความสามารถและสมรรถนะอย่างเพียงพอของบุคลากรใหม่ที่จะเริ่มงานได้ในทันที (Newskill) เพื่อช่วยให้บุคลากรและแรงงานในประเทศมีคุณภาพตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพที่ต้องการ สามารถให้บริการหรือติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตามมาตรฐานและมีความปลอดภัย ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายที่ต้องการให้แรงงานหรือบุคลากรมีงานทำในภูมิลำเนาของตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาพื้นที่และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยความร่วมมือกับ มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำหลักสูตรขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขั้นพื้นฐาน ให้รองรับความต้องการด้านพลังงานไฟฟ้าในอนาคต และเพื่อพัฒนาประชาชนทั่วไป ผู้ปฏิบัติงาน (ช่างติดตั้ง ซ่อมบำรุง) ด้านเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) /Solar Rooftop ตลอดจนบุคลากภาครัฐที่ส่งเสริมกำกับดูแลการติดตั้ง Solar Cell ภาครัฐ และเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดทุกภูมิภาค โดยมุ่งเน้นมาตรฐานความปลอดภัยในการติดตั้ง การเลือกใช้เทคโนโลยี อุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเสถียรภาพ จากการใช้ไฟฟ้าจากภาครัฐควบคู่กับไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ตลอดจนรองรับการต่อยอดของผู้ปฏิบัติงาน ที่ต้องการต่อยอดให้มีความรู้มาตรฐานรองรับด้านคุณวุฒิวิชาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI)
อาชีพเป้าหมาย
ช่างติดตั้ง ช่างเดินเครื่องระบบ ช่างซ่อมบำรุง
ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
ทักษะเป้าหมายของหลักสูตร
ผู้ที่ผ่านหลักสูตรนี้ควรแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ รวมทั้งอุปกรณ์ประกอบหลักที่เกี่ยวข้อง สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการทำงาน รวมทั้งอุปกรณ์ป้องกันภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูงและงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าตามหลักอาชีวอนามัยและและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน บ่งชี้สาเหตุ/อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเพื่อควบคุมความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน และความสามารถในการติดตั้งระบบที่เป็นไปตามมาตรฐาน การดูแล ซ่อมและบำรุงรักษาระบบ การปฏิบัติการเดินเครื่องระบบที่เป็นที่ยอมรับ และมีความรู้การทำงานอย่างละเอียดเกี่ยวกับรหัสไฟฟ้า กฎหมาย ข้อบังคับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดตั้ง การเดินเครื่องระบบ และการบำรุงรักษาระบบเบื้องต้น
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อพัฒนาทักษะให้บุคคลมีความรู้และทักษะในการทำงานด้านการติดตั้ง ซ่อมและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบุคคลากรในสาขาอาชีพด้านระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ มีความเป็นสากลและเหมาะสมกับประเทศไทย
- เพื่อสร้างกลุ่มสาขาอาชีพที่พร้อมสำหรับคุณวุฒิวิชาชีพด้านการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
- เพื่อพัฒนาทักษะให้บุคคลมีความรู้และทักษะในการทำงานด้านการติดตั้ง ซ่อมและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Competency) ที่ได้รับภายหลังจากผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้
- มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
- มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
- อ่านแบบก่อสร้างที่เกี่ยวข้องได้
- ใช้เครื่องมือวัดในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้
- สามารถตรวจสอบและเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้ง
- สามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
- ควบคุมการทำงานระบบและซ่อมบำรุงระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้
- ทราบและปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐาน ภายใต้ข้อกำหนด และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายหรือคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree)
- ผู้ปฏิบัติงาน (ช่างติดตั้ง ซ่อมบำรุง) ด้านระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell /Solar Rooftop)
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่สนใจการติดตั้งและซ่อมบำรุงระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
- บุคลากรภาครัฐที่ส่งเสริมและกำกับดูแลการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
- แรงงานในระบบที่ต้องการ Upskill/Reskill
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรมีการจัดโครงสร้างและเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการทำงานในระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ครอบคลุมความเข้าใจในลักษณะงาน ความรู้และขั้นตอนการทำงานที่เป็นมาตรฐานสากลและมีความปลอดภัย โดยมีโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้
หัวข้อ | จำนวนชั่วโมง |
บรรยาย และกรณีศึกษา | 12 |
ฝึกปฏิบัติการ (Workshop) | 6 |
รวม | 18 ชั่วโมง/3 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม และข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การอ่านแบบก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง และการฝึกปฏิบัติการ การอ่านแบบและทำความเข้าใจแบบ
- มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งและ Commissioning
- การตรวจสอบ และบำรุงรักษา เบื้องต้น และ ข้อควรระวังในการติดตั้ง
- ฝึกปฏิบัติการ การติดตั้ง และทดสอบการทำงานของระบบ Solar Rooftop
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม และข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
-
หมายเหตุ:
-
-
- สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงกำหนดการอบรมและวิทยากรตามความเหมาะสมและความจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้าร่วมอบรม
- ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
-
วิทยากรประจำหลักสูตร
คุณสถาพร สุนทรา
ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)
และการตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้า
จากพลังงานแสงอาทิตย์
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 16 – 18 ตุลาคม 2567
(รวมระยะเวลา 3 วัน)
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 14,980 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
**พิเศษ!!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป
รับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียงท่านละ 13,482 บาท
เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ
- กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2567
- ผู้เข้าร่วมอบรมต้องส่งหลักฐานแสดงการผลการตรวจ ATK ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม
- เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายอักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าวทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการคิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
สถานที่จัดฝึกอบรม
อบรมภาคทฤษฎี
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
อบรมภาคฝึกปฏิบัติการ
ศูนย์ฝึกอบรมปฏิบัติการด้านการจัดการพลังงาน (Mini Plant)
ซอยคชสาร (ซอยโรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวง) ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81895 (คุณบรรยงก์)
เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1825 5143
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS