หลักสูตรความปลอดภัยในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีประจุไฟฟ้า รุ่นที่ 2
(Safety of Using Electric Vehicles and Charging Stations: SEV)
Key Highlights:
-
- ทำความรู้จักกับยานยนต์ไฟฟ้า และระบบอัดประจุไฟฟ้า
- เรียนรู้เรื่อง ความปลอดภัยของยานยนต์ไฟฟ้า และสถานีประจุไฟฟ้า
- รู้เท่าทันการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
- รู้วิธีการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน
- ทำความรู้จักกับยานยนต์ไฟฟ้า และระบบอัดประจุไฟฟ้า
หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการผลิตและใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ได้กำหนดนโยบาย 30@30 คือการตั้งเป้าหมายการผลิตรถยนต์ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาคนั้น ส่งผลให้ปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และมีการใช้งานมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา แต่หลาย ๆ ท่านก็คงอาจมีความกังวลอยู่บางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าภายในตัวยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากยานยนต์ไฟฟ้าได้ถูกออกแบบมาให้มีระบบไฟฟ้าแรงสูงที่นำมาใช้สำหรับการขับเคลื่อน ความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าแรงสูงในยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งที่ควรทำความรู้จัก มีความเข้าใจ และเรียนรู้ถึงวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง
ความปลอดภัยนับเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบและการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าบางรุ่น สามารถปรับปรุงความปลอดภัยในระดับที่ดีได้ด้วยการใช้ระบบขับขี่แบบอัตโนมัติเข้ามาช่วย แม้ยานยนต์ไฟฟ้าจะใช้งานง่าย มีชิ้นส่วนสึกหรอน้อย และดูแลบำรุงรักษาง่ายเนื่องจากไม่ต้องคอยเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก 10,000 กม. หรือเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุก 40,000 กม. แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ยังใหม่ต่อการใช้งานจริงของคนทั่วไป เมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาปแล้ว ยานยนต์ไฟฟ้าก็มีสิ่งที่ทุกคนอาจเป็นกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้งานที่มีผลต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งานและผู้คนรอบข้าง
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ได้พัฒนาหลักสูตรความปลอดภัยในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีประจุไฟฟ้า (Safety of Using Electric Vehicles and Charging Stations: SEV) ขึ้น โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าและการประจุไฟฟ้า รวมถึงความปลอดภัยในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีประจุไฟฟ้าอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานและมีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อเกิดเหตุไม่ปกติในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า
วัตถุประสงค์
-
- เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าและการประจุไฟฟ้า
- เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีประจุไฟฟ้า
- เพื่อให้เกิดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีประจุไฟฟ้าอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
- เพื่อทราบถึงแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เมื่อเกิดเหตุไม่ปกติในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า
- เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าและการประจุไฟฟ้า
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา
- ได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าและการประจุไฟฟ้า
- เข้าใจเรื่องความปลอดภัยของยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีประจุไฟฟ้า
- สามารถใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีประจุไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
- มีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องและเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม เมื่อเกิดเหตุไม่ปกติในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า


กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจยานยนต์ เช่น อู่ซ่อมรถ บริษัทประกันภัย SMEs ที่เกี่ยวข้อง
- หน่วยงาน/องค์กร ที่ใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า
- บุคคลทั่วไปที่สนใจยานยนต์ไฟฟ้า
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าและการประจุไฟฟ้า ความปลอดภัยของยานยนต์ ไฟฟ้าและสถานีประจุไฟฟ้า รวมถึงการใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัย และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อเกิดเหตุไม่ปกติในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบด้วย การบรรยาย และการสาธิตความปลอดภัยของการประจุไฟฟ้า รวมจำนวน 6 ชั่วโมง/1 วันทำการ ดังนี้
หัวข้อ | ชั่วโมง |
การบรรยาย | 5 |
การสาธิต ความปลอดภัยของการประจุไฟฟ้า |
1 |
รวม | 6 ชั่วโมง/1 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า
- ยานยนต์ไฟฟ้ากับความปลอดภัย
- การใช้งานให้ปลอดภัย / การดูแลรักษายานยนต์ไฟฟ้า
- แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุไม่ปกติในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า
- การสาธิต ความปลอดภัยของการประจุไฟฟ้า
-

วิทยากรประจำหลักสูตร
ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า
วันที่ฝึกอบรม
อบรมวันพุธที่ 9 เมษายน 2568 (รวมระยะเวลา 1 วัน)


ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 6,420 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
*เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ
-
- กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 28 มีนาคม 2568
- ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
- หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
สถานที่จัดอบรม
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

Download
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81898 (ฉวีวรรณ)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS