หลักสูตรการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ
สถานีขนส่งระบบราง
(Transit-Oriented Development)
อบรม Online ผ่านโปรแกรม |
Key Highlights
-
- เรียนรู้แนวคิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง
- เห็นตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- มุ่งเน้นการให้ความรู้และประสบการณ์ตรงจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่สามารถนำไปปฏิบัติและปรับใช้ได้จริง
- เรียนรู้แนวคิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง
หลักการและเหตุผล
การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นแนวคิดหลักของการพัฒนาเมืองในปัจจุบัน โดยการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิดการสร้างความยั่งยืนนั้นจะต้องพิจารณาถึงการพัฒนาในด้านต่างๆ อันได้แก่ การพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย การสร้างทางเลือกของการเดินทาง การลดปริมาณการใช้ยานพาหนะส่วนตัว การรักษาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแข่งขัน และโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อดึงดูดให้เกิดการจ้างงาน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นองค์รวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนระบบราง ซึ่งถือเป็นแนวทางในการพัฒนาที่สำคัญในการตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
นอกจากนี้ แผนการพัฒนาของประเทศ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรางเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนา ภายใต้แนวคิด การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งระบบราง (Transit-Oriented Development: TOD) ซึ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่โดยการพัฒนารูปแบบการคมนาคมขนส่งระบบราง การให้บริการการขนส่งรอง (Feeder) การสร้างพื้นที่อยู่อาศัยหลากหลายระดับ การพัฒนาพื้นที่แหล่งงาน การรักษาสภาพแวดล้อม และการกำหนดกรอบนโยบายที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนและสอดคล้องต่อการพัฒนา ซึ่งตามแนวปฏิบัติแล้ว หากต้องการสร้างการพัฒนาให้เกิดขึ้นเป็นองค์รวม ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง อีกทั้งกรอบการพัฒนาหรือนโยบายการพัฒนาในระดับต่างๆ จะต้องมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ประชาชน และนักพัฒนา สามารถมองเห็นภาพ แนวทาง และความเป็นไปได้ของการพัฒนามากยิ่งขึ้น
หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาโดยมุ่งเน้นเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง (TOD) และสร้างแรงจูงใจให้ภาครัฐ และเอกชน รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งทางรางในประเทศไทย โดยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งทางราง (TOD) จากกรณีศึกษาในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ และกรณีศึกษาเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง (TOD) ของประเทศไทยในอนาคต
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านระบบรางของประเทศ ให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง (TOD)
- เพื่อขยายฐานความรู้และแนวคิดให้กับภาครัฐ และเอกชน รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง (TOD) ในประเทศไทย
- เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและทิศทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง (TOD) ของประเทศไทยในอนาคต
- เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านระบบรางของประเทศ ให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง (TOD)
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม
- ได้รับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง
- ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ
- สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มเป้าหมาย
- ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งระบบราง
- ผู้ประกอบการเดินรถไฟและเครือข่ายด้านการขนส่งระบบราง
- นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นักพัฒนาที่ดิน ภาคเอกชนต่างๆ
- ภาคการศึกษา
โครงสร้างหลักสูตร
เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านระบบขนส่งทางราง ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง (Transit-Oriented Development) ประกอบด้วย การบรรยาย รวม 12 ชั่วโมง/2 วันทำการ ดังนี้
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วัน) |
บรรยาย และกรณีศึกษา | 12 | 2 |
รวม | 12 |
2 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
- แนวคิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบราง (Transit-Oriented Development)
- กรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบรางในต่างประเทศ
- กรณีศึกษาและทิศทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งระบบรางในประเทศไทย
ระยะเวลาของหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 23 – 24 สิงหาคม 2565
(ระยะเวลาอบรมจำนวน 2 วัน)
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 4,900 บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
*เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ
- กรุณาชำระเงิน ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2565
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
รูปแบบการจัดอบรม
ถ่ายทอดสด ในระบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81894 (คุณนพมล)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS