หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
การเขียนข้อกำหนดและขอบเขตงาน
สำหรับสินค้า/บริการดิจิทัล ให้จัดซื้อและตรวจรับได้ง่าย
Terms of Reference (TOR) Writing Guide
for Purchasing Digital Devices and Services
มุ่งเน้นการเขียน TOR เพื่อจัดหาสินค้า/บริการดิจิทัล ให้จัดซื้อและตรวจรับได้ง่าย
Key Highlights
-
- เรียนรู้และเข้าใจสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- เข้าใจเทคโนโลยี สินค้า/บริการดิจิทัล และแนวทางในการเขียน TOR ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ฝึกปฏิบัติเข้มข้น การเขียน TOR การจัดหาสินค้า/บริการดิจิทัล เพื่อให้จัดซื้อและตรวจรับได้ง่าย
- เรียนรู้และเข้าใจสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก มีความสำคัญต่อการทำงานในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ต้องพึ่งพาระบบงานที่ทันสมัย รวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายที่จะแปรรูปบริการของรัฐทั้งหมดให้เป็นรัฐบาลดิจิทัลในปี 2566-2570 หน่วยงานรัฐทุกหน่วยจึงต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างทันท่วงที โดยในการให้บริการต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ จะต้องมีเครื่องมือที่ทันสมัยและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องจัดหาสินค้า/บริการดิจิทัลที่จะนำมาใช้เพื่อตอบสนองงานต่าง ๆ ผ่านการจัดซื้อ จ้าง เช่า อยู่เป็นจำนวนมาก
ดังนั้นเพื่อให้การจัดซื้อ จ้าง เช่า สินค้า/บริการดิจิทัล เป็นไปอย่างเหมาะสมและตรวจรับได้ง่าย โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญ หลักสูตรนี้จึงถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐที่จำเป็นต้องจัดหาสินค้า/บริการดิจิทัล ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนทักษะที่จำเป็น สามารถดำเนินการจัดหาสินค้า/บริการดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน และช่วยลดปัญหาในการพิจารณาตรวจรับ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจสาระสำคัญของ พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของสินค้า/บริการดิจิทัล เพื่อให้สามารถเขียน TOR ได้อย่างเหมาะสม
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีประสบการณ์จริงในการเขียน TOR สำหรับสินค้า/บริการดิจิทัล
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจสาระสำคัญของ พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม
- เข้าใจสาระสำคัญของ พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างถูกต้อง
- เข้าใจธรรมชาติของสินค้า/บริการดิจิทัล
- สามารถเขียน TOR สำหรับสินค้า/บริการดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหาสินค้า/บริการดิจิทัล
- ผู้ให้บริการตรวจสอบและรับรองสินค้า/บริการดิจิทัล
- ผู้ขายสินค้าและผู้ให้บริการดิจิทัล
- ผู้สนใจทั่วไปที่มีโอกาสเป็นคณะกรรมการจัดซื้อตรวจรับ
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียน TOR สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า/บริการดิจิทัลอย่างเหมาะสม และถูกต้องตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ตลอดจนฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการเขียน TOR อย่างเข้มข้น เพื่อให้สามารถจัดซื้อและตรวจรับได้ง่าย รวมจำนวน 12 ชั่วโมง / 2 วันทำการ
หัวข้อ | ชั่วโมง | ครั้ง (วัน) |
บรรยาย | 6 | 1 |
ฝึกปฏิบัติการ (Workshop) | 6 | 1 |
รวม | 12 | 2 วันทำการ |
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-
-
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
- รู้จักสินค้า/บริการดิจิทัล และเทคโนโลยีขั้นสูง
- การเขียน TOR อย่างไรให้จัดซื้อ/ตรวจรับ ได้ง่าย
- การเขียน TOR ให้ใช้ประโยชน์ได้จริงในระยะยาว
- Workshop 1 ฝึกปฏิบัติเขียน TOR เบื้องต้น (กรณีศึกษา)
- Workshop 2 ฝึกปฏิบัติเขียน TOR เพื่อใช้งานจริง (ตัวอย่างจริง)
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
-
วิทยากรประจำหลักสูตร
ดร. กมล เอื้อชินกุล
ผู้จัดการ สถาบันประเมินและรับรองเทคโนโลยีดิจิทัล (DTEC)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
คุณสมเดช แสงสุรศักดิ์
ผู้เชี่ยวชาญวิจัย งานวิศวกรรมซอฟต์แวร์และทดสอบผลิตภัณฑ์ (SEPT)
ฝ่ายสนับสนุนบริการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี (TSS)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
ผู้แทนจาก
กรมบัญชีกลาง/สำนักงานคลังจังหวัด
ระยะเวลาของหลักสูตร
รวมเวลาอบรม จำนวน 2 วัน เวลา 9.00 – 16.00 น.
-
- รุ่นที่ 2 (กรุงเทพมหานคร)
ระหว่างวันที่ 21 – 22 ธันวาคม 2566
- รุ่นที่ 3 (จังหวัดเชียงใหม่)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 มีนาคม 2567
- รุ่นที่ 4 (จังหวัดขอนแก่น)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 มิถุนายน 2567
- รุ่นที่ 5 (กรุงเทพมหานคร)
ระหว่างวันที่ 12 – 13 กันยายน 2567
- รุ่นที่ 2 (กรุงเทพมหานคร)
ค่าลงทะเบียน
ท่านละ 9,900 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรของรัฐ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ
และไม่แสวงหากำไร จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ
- ค่าลงทะเบียนรวม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อต่อวัน และเอกสารประกอบการอบรม
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการบรรยายตามความเหมาะสม
- สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังและเข้าร่วมอบรมสัมมนาโดยไม่ถือเป็นวันลา
- ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
- หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
สถานที่จัดฝึกอบรม
- รุ่นที่ 2 (กรุงเทพมหานคร)
อยู่ระหว่างอัพเดทข้อมูล
- รุ่นที่ 3 (จังหวัดเชียงใหม่)
อยู่ระหว่างอัพเดทข้อมูล
- รุ่นที่ 4 (จังหวัดขอนแก่น)
อยู่ระหว่างอัพเดทข้อมูล
- รุ่นที่ 5 (กรุงเทพมหานคร)
อยู่ระหว่างอัพเดทข้อมูล
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรม
ทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
CONTACT
PHONE & E-MAIL
สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81891 (คุณนิพัฒน์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th
ADDRESS