Select Page

หลักสูตรผู้จัดการธุรกิจโรงปลูกพืชแนวตั้ง

 (Indoor Vertical Farming Manager: VFM)

Key Highlights

    • เข้าใจการบริหารจัดการธุรกิจโรงปลูกพืชแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming) ครอบคลุมทั้งการวางแผนและบริหารจัดการการผลิตพืช
      การตลาด และการต่อยอดธุรกิจ
    • ฝึกปฏิบัติการคิดและออกแบบธุรกิจต่อยอดจากการปลูกพืชเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

หลักการและเหตุผล

          ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอันดับต้นๆ ของโลก เกษตรกรบางส่วนได้รับมรดกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีวิธีการทำการเกษตรแบบสืบทอดกันมาแต่ดั้งเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และเกษตรกรบางส่วนได้นำเครื่องจักรกลเข้ามาช่วยในการเกษตร แต่เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงได้คิดค้นหาวิธีและนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสร้างและควบคุม ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีนั้นคือ การปลูกพืชแนวตั้ง หรือ Indoor Vertical Farming ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการปลูกพืชระบบปิดที่ควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ช่วงคลื่นแสง ความเข้มแสง อุณหภูมิ ความชื้น แร่ธาตุ และปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่พืชใช้ในการเจริญเติบโต โดยเทคโนโลยีนี้ได้พัฒนามาจากองค์ความรู้แขนงต่างๆ ทั้งด้านสรีรวิทยาพืช การเกษตร วิศวกรรม รวมถึงการจัดการเทคโนโลยีให้มีศักยภาพในการผลิต ทำให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณและคุณภาพสูงตามมาตรฐานที่เกษตรกรและตลาดต้องการ

 

          การปลูกพืชแนวตั้ง หรือ Indoor Vertical Farming เป็นเทคโนโลยีการผลิตพืชรูปแบบใหม่ ผู้ที่เข้ามาบริหารจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการทุกขั้นตอน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจใด้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรได้ รวมทั้งแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมั่นคง และสามารถแข่งขันได้ในระยะยาว

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนา “หลักสูตรผู้จัดการธุรกิจโรงปลูกพืชแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming Manager: VFM)” ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจโรงปลูกพืชแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming) โดยมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งการออกแบบและวางแผนการผลิต การบริหารจัดการการผลิตพืช การตลาด และการต่อยอดทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต

ลงทะเบียนหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจโรงปลูกพืชแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming) ครอบคลุมการวางแผนและบริหารจัดการการผลิตพืช การตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มและการต่อยอดธุรกิจ
    2. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้มีประสบการณ์จริงในการบริหารจัดการธุรกิจโรงปลูกพืชแนวตั้ง ตลอดจนทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการบริหารงาน
    3. เพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจโรงปลูกพืชแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming) อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรม

  1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจโรงปลูกพืชแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming)
  2. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางในการบริหารจัดการโรงปลูกพืชแนวตั้ง การตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มและการต่อยอดธุรกิจ กับผู้มีประสบการณ์จริงในโรงปลูกพืชแนวตั้ง
  3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ และต่อยอดธุรกิจได้

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้ที่ต้องบริหารจัดการโรงปลูกพืชแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming)
  2. เกษตรกรรุ่นใหม่ หรือเกษตรกรแนวคิดใหม่ ที่สนใจการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการทำการเกษตร
  3. เจ้าหน้าที่/บุคคลากรภาคการศึกษา ภาครัฐ และเอกชน ที่สนใจการบริหารจัดการธุรกิจเทคโนโลยีการปลูกพืชสมัยใหม่

โครงสร้างหลักสูตร

          เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจโรงปลูกพืชแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming) ครอบคลุมแนวทางการวางแผนและบริหารจัดการการผลิตพืช การตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการต่อยอดธุรกิจ ประกอบด้วย การบรรยาย การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ และฝึกปฏิบัติ รวมจำนวน 19.5 ชั่วโมง/3 วันทำการ ดังนี้

หัวข้อ ชั่วโมง ครั้ง (วัน)
บรรยาย เสวนา และกรณีศึกษา 9.5 1.5
ฝึกปฏิบัติ 10 1.5
รวม 19.5 3 วันทำการ

 

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

      1. กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงปลูกพืชแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming)
      2. แนวโน้มเทคโนโลยีและมาตรฐานโรงปลูกพืชแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming) ในต่างประเทศ
      3. กรณีตัวอย่างความสำเร็จทางธุรกิจ (Success Case) ของการปลูกพืชแนวตั้งในต่างประเทศ
      4. การสร้างแบรนด์ และการตลาด
      5. การสร้างธุรกิจเสริมจากธุรกิจเกษตร
      6. การจัดการและวางแผนการผลิต
      7. การแชร์ประสบการณ์และปัญหาในการปลูกพืชแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming)
      8. ฝึกปฏิบัติ: การจัดการและวางแผนการผลิต (โจทย์ตัวอย่าง)
      9. Design Thinking and LEAN Canvas (การต่อยอดธุรกิจ)
      10. Design Thinking and LEAN Canvas Workshop
      11. การนำเสนอผลงาน
      12. การอภิปรายและสรุปผล

หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยยังคงเนื้อหาและสาระสำคัญของการอบรมไว้

ระยะเวลาของหลักสูตร

ตลอดระยะเวลา 3 วัน
ระหว่างวันที่ 8 – 10 กุมภาพันธ์ 2564
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี และฝึกปฏิบัติ
รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ
รวมจำนวนชั่วโมงทั้งหมด 19.5 ชั่วโมง

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 17,900​ บาท (ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
โปรโมชั่นพิเศษ!! หากชำระเงินภายในวันที่ 25 มกราคม 2564
รับส่วนลดทันที 10% เหลือชำระเพียง 16,110 บาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

หมายเหตุ

    • หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการ ก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน

เกณฑ์การประเมินผล

ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

วิทยากรประจำหลักสูตร

 

 

คุณกฤษณะ ธรรมวิมล
CEO Wangree Fresh Plant Factory Startup
บริษัท วังรี เฮลท์ แฟคตอรี่ จำกัด

 

 

อาจารย์อภิทาน ลี​
รองผู้อำนวยการ ศูนย์บริการวิจัยและออกแบบ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สถานที่จัดฝึกอบรม

โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ​
เลขที่ 9 ถนนราชปรารภ แขวงประตูน้ำ
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

CONTACT

PHONE & E-MAIL

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ : 0 2644 8150 ต่อ 81892 (คุณเมธภัค)​
          0 2644 8150 ต่อ 81904 (คุณสุรีย์)
โทรสาร : 0 2644 8110
E-MAIL : npd@nstda.or.th

ADDRESS

 

สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต
(Career for the Future Academy)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ชั้น 6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400